ReadyPlanet.com
dot
ยาสมุนไพร ประจำตระกูลหลี
dot
bulletยากระษัยเส้น
bulletยาบำรุงไต
bulletยาริดสีดวงทวาร
bulletยาแก้เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง
bulletยาสตรี วัยทอง
bulletยาบำรุงเลือดและลมปราณ
bulletยาบำรุงเลือดสตรี
bulletยาบ่วงเล่งตัง
bulletยาโรคกระเพาะ
bulletยาบำรุงสายตา
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
bulletOF บริการคลังสินค้า ออนไลน์
bulletอุปกรณป้องกันตัว ผู้หญิง
dot
สำหรับ พนักงาน
dot
bulletKnowledge Base


ยาสมุนไพร ยาสมุนไพรจีน : Facebook


รู้หรือไม่ งูสวัดเริ่มจากอีสุกอีใส article

รู้หรือไม่ งูสวัดเริ่มจากอีสุกอีใส

 

งูสวัดที่คอ โรคงูสวัด โรค งูสวัด อาการงูสวัด รักษางูสวัด การรักษางูสวัด

 ขอบคุณรูปจาก John Pozniak

 

      ตอนเด็กๆ จำได้ว่าวันหนึ่งที่ขอบตาบนขึ้นเป็น 2 เม็ด และมีอาการปวดมาก เตี่ยที่เป็นคนจีนมาจากเมืองจีนเห็นแล้ว พูดว่าลื้อแซจั้ว 你生虵 แปลเป็นไทยก็คือ ลื้อเป็นงู  ถึงได้รู้ความหมายของคนจีนที่พูดว่า แซจั้ว 生虵 หมายถึง ตุ่มใสๆที่เกิดขึ้นตามร่างกายและมีอาการปวดแสบปวดร้อน จั้ว ในภาษาจีนหมายถึง งู  แซจั้ว生虵 น่าจะหมายถึง งูสวัด  生虵 หรือ 皰疹 หมายถึง งูสวัด

สถิติในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยโรคงูสวัดกว่า 1 ล้านรายต่อปี

ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคงูสวัดมีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป เพราะประชาชนเกือบทุกคนมักเคยเป็นโรคอีสุกอีใส ดังนั้น คนไทยวัยสูงอายุร้อยละ 95 จึงเสี่ยงเป็นโรคงูสวัด

 

สาเหตุงูสวัด

      งูสวัดเป็นไวรัสตัวเดียวกับตัวที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส(ไวรัส Herpes  zoster) คนที่ได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวครั้งแรกในชีวิตจะเกิดอีสุกอีใส หลังจากนั้นเชื้อไวรัสนี้จะหลบเข้าไปอยู่ที่โพรงไขประสาทด้านหลัง แฝงตัวอยู่ในร่างกายเราอย่างสงบเป็นเวลาหลายปี หรือหลายสิบปี จนวันร้ายคืนร้าย ร่างกายเรามีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งอาจจะเกิดจาก ได้รับการกระทบกระเทือน ความเครียด ติดเชื้อเอชไอวี อายุที่มากขึ้น ได้รับอุบัติเหตุ มะเร็ง ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ร่างกายอ่อนเพลียสะสมเป็นเวลานานและพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือใช้ยาสเตียรอย เชื้อไวรัสตัวนี้ที่แฝงตัวอยู่จะแบ่งตัวจนเกิดเป็นงูสวัด

      งูสวัดนี้เกิดได้กับทุกคนไม่ว่าจะชายหรือหญิง แต่จะเกิดในกลุ่มผู้ใหญ่มากกว่า โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก เช่น ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้น

อาการของงูสวัด

      อาการเริ่มแรกของ งูสวัด จะรู้สึกไม่ค่อยสบาย อาจมีไข้ ปวดตามแนวเส้นประสาทที่จะเกิดงูสวัด

      คนไข้งูสวัดบางรายเริ่มด้วยอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ตามเอว คนไข้งูสวัดจึงจะไปพบหมอกระดูกก่อน เพราะเข้าใจว่าเป็นกล้ามเนื้ออักเสบ

บางรายอาจจะปวดแสบปวดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้ โดยมากเกิดเพียงซีกใดซีกหนึ่งของใบหน้า ทรวงอก แขนขา  3-4 วันต่อมาจะมีผื่นแดงๆขึ้นตรงบริเวณที่ ปวดแล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใสเรียงเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาท

 

งูสวัดที่แขน โรคงูสวัด โรค งูสวัด อาการงูสวัด รักษางูสวัด การรักษางูสวัด

ขอบคุณรูปจาก James Heilman


      หลังจากนั้นอีก
2-3 วันต่อมา อาการของงูสวัดจะเริ่มเด่นชัดมากขึ้น ตุ่มน้ำใสจะกลายเป็น ตุ่มเหลืองขุ่นแล้วแตกและค่อยแห้งเป็นสะเก็ด

 

งูสวัดขึ้นตา โรคงูสวัด โรค งูสวัด อาการงูสวัด รักษางูสวัด การรักษางูสวัด

ขอบคุณรูปจาก Jonathan Trobe


แม้งูสวัดมักหายเองใน 2-3 อาทิตย์ แต่การได้รับการรักษาที่ดีทำให้ยับยั้งการเพิ่มขึ้นของเชื้อไวรัสและลดการลุกลามของอาการงูสวัด นอกจากนี้ลดโอกาสของภาวะแทรกซ้อนอีกด้วย

ถ้าเป็นบริเวณหน้าควรรีบไปรักษาที่ โรงพยาบาลเพราะถ้าเกิดที่กระจกตา อาจจะทำให้กระจกตาอักเสบเป็นแผลเป็น ตาอาจพิการได้

ถ้างูสวัดลามไปหู อาจทำให้ภาวะแทรกซ้อนทางหูได้

งูสวัดขึ้นคอ โรคงูสวัด โรค งูสวัด อาการงูสวัด รักษางูสวัด การรักษางูสวัด

ขอบคุณรูปจาก ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

 

ส่วนภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่น ๆ ของงูสวัด เช่น สมองอักเสบ หรือปอดอักเสบ แต่ก็พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก ๆ

โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้ให้ข้อมูลเพิ่มว่า ถ้างูสวัดย้อนกลับไปตามเส้นประสาทเข้าไปที่ไขสันหลัง (ผื่นที่ลำตัว) ทำให้เกิดขาอัมพาต

ถ้างูสวัดลามเข้าสมอง ทำให้ติดเชื้อในเส้นเลือด เกิดเส้นเลือดอักเสบ และไวรัสทะลักเข้าไปติดเชื้อในสมอง

 

งูสวัดแห้งเป็นสะเก็ด โรคงูสวัด โรค งูสวัด อาการงูสวัด รักษางูสวัด การรักษางูสวัด

ขอบคุณรูปจาก Mariegriffiths

 

อย่างไรก็ดีเชื้องูสวัดเป็นไวรัส ไม่สามารถให้ยาที่จะฆ่ามันได้ แต่ทำให้การอักเสบสงบ เชื้องูสวัดก็กลับไปที่ไขสันหลังเหมือนเดิม วันดีคืนดีออกมาใหม่ได้

นพ.พิรัตน์ โลกาพัฒนา หรือ หมอแมว ยังให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า มีผลงานวิจัย การป่วยเป็นงูสวัดเพิ่มความเสี่ยงโรคเส้นเลือดสมองตีบและเส้นเลือดหัวใจตีบ โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้รับการรักษา

- ภายในสัปดาห์แรกหลังเป็นงูสวัด ความเสี่ยงเส้นเลือดสมองตีบจะเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า 

- ภายในสัปดาห์แรกหลังเป็นงูสวัด ความเสี่ยงเส้นเลือดหัวใจตีบจะเพิ่มขึ้น 1.7 เท่า 

- ถ้าหากเป็นงูสวัดที่เส้นประสาทที่ตา จะเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าเมื่อเทียบกับเกิดที่ตำแหน่งอื่น

- ผู้ที่ป่วยด้วยงูสวัดในช่วง 1 ปี จะมีความเสี่ยงของเส้นเลือดตีบมากกว่าคนปกติ 30% 

- ความเสี่ยงนี้ไม่ได้จำกัดแต่กับผู้สูงอายุ 

- การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ลดความเสี่ยงของเส้นเลือดตีบได้กึ่งหนึ่ง

ถึงแม้โรคงูสวัดจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่เราไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะถ้าเราไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่ม จะได้รับยาเร็ว และลดการปวดของคนไข้ได้ และช่วยลดอาการแผลเป็น อาการปวดหลังจากเป็นงูสวัดได้ เมื่อไหร่มีผื่นขึ้นแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

 

อาการปวดหลังจากเป็นงูสวัด

      อาการงูสวัด ที่เป็นสร้างความทุกข์ให้กับผู้ที่เป็น งูสวัด มากที่สุดน่าจะเป็นอาการปวดประสาทหลังเป็น งูสวัด หรือมีชื่อเรียกว่า อาการปวดตามแนวเส้นประสาทเรื้อรัง หรือ Post Herpetic Neuralgia (PHN) ซึ่งอาจจะปวดได้อีก 3-12 เดือนในบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย

หลังจากแผลหายตกสะเก็ดแล้วยังมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่เป็นตลอดเวลา ในรายที่เป็นที่ลำตัวอาจจะใส่เสื้อไม่ได้เพราะ มันแสบมันร้อน ในรายที่เป็นงูสวัดที่ใบหน้าใบหน้ากระทบถูกลมก็ยังเจ็บ สัมผัสใบหน้าด้วยตัวเองยังเจ็บจนสะดุ้ง อาการนี้ยิ่ง อายุมากยิ่งเป็นนาน อาจจะนานเป็นเวลาหลายปี  บางรายที่เป็นงูสวัดที่ใบหน้าก็จะมีอาการคันที่ใบหน้าและตา

จากสถิตพบว่าอาการปวดเรื้อรังในร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป

และมากกว่าร้อยละ 70 ในผู้ป่วยอายุ 70 ปีขึ้นไป จะเห็นได้ว่ายิ่งอายุมากยิ่งเป็นรุนแรงและนาน

การวินิจฉัยโรคงูสวัด

ซักประวัติการเจ็บป่วย ลักษณะของผื่น แต่ผู้ป่วยบางคนลักษณะผื่น และตำแหน่งไม่เหมือนงูสวัดจึงจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่ม ได้แก่การเพาะเชื้อไวรัส การย้อมด้วยวิธี Direct immunofluorescence assay

หรือทำการ Tzanck smear นำเอาน้ำที่ก้นแผลมาย้อมจะพบเซลล์ตัวใหญ่ผิดปรกติ

 

การติดต่อของงูสวัด

      เชื้อไวรัสที่อยู่ในผื่นสามารถติดต่อโดยการสัมผัส สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนก็อาจจะกลายเป็นไข้สุกใส สำหรับคนที่เป็นไข้สุกใสแล้วก็จะมีโอกาสเป็นงูสวัดเพิ่มมากขึ้น

นอกจากการสัมผัสแล้วโดยการแพร่เชื้อจะแพร่ทางลมหายใจ หากได้สูดหรือหายใจเข้าไป ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัส แล้วเป็นโรคได้

ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงจากผู้ป่วยโรคงูสวัด แยกสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม และที่นอนจากผู้ป่วย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสตุ่มน้ำหรือแผลของผู้ป่วย ส่วนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคงูสวัดแบบแพร่กระจาย สามารถแพร่เชื้อได้ทางการหายใจ ดังนั้น ควรแยกผู้ป่วยไม่ให้ใกล้ชิดกับผู้ไม่เคยเป็นโรค

 

ความแตกต่างระหว่าง เริม กับ งูสวัด

เริมกับงูสวัด,งูสวัด,โรคงูสวัด,โรค งูสวัด,อาการ งูสวัด,อาการงูสวัด,รักษา งูสวัด,รักษางูสวัด,การรักษางูสวัด,การรักษา งูสวัด

      มีอาการและลักษณะคล้ายๆ กัน วิธีการสังเกตุง่ายๆ คือ งูสวัดมีลักษณะผื่นที่เป็นปื้นกระจายตัวตามเส้นประสาท ถ้าเป็นเริมตุ่มน้ำใสจะขึ้นทีละน้อยมากันเป็นกลุ่มๆ มักจะขึ้นบริเวณเดียว เช่น ริมฝีปาก แก้ม จมูก หู ตา ก้น หรืออวัยวะเพศ

 

      งูสวัดจะปวดแสบปวดร้อนมากกว่า ในเริมอาจแค่แสบๆ คันๆ

 

ความเชื่อเกี่ยวกับโรคงูสวัด

      ความเชื่อ : มีคนบอกว่าเด็กๆทุกคนเกิดมาต้องเป็นอีสุกอีใส

ข้อเท็จจริง : ไม่ได้เป็นตามนั้น เพราะอีสุกอีใสเป็นการติดเชื้อของไวรัส

 

ความเชื่อ : โบราณเขาบอกว่า คนเราเกิดมาครั้งหนึ่งเป็นอีสุกอีใส เป็นแล้วจะไม่เป็นอีก ความเชื่อนี้ผิดไหม

ข้อเท็จจริง : ถูกต้อง แต่จะฝังตัวที่เส้นประสาทตรงไขสันหลังของเรา เมื่อเราอ่อนแอเมื่อไหร่ ภูมิคุ้มกันเมื่อไหร่ มันก็จะปะทุออกมาเป็นงูสวัด

 

ความเชื่อ : โบราณอีกแล้วบอกว่า ถ้างูสวัดเป็นรอบคอ รอบเอว ถ้าคดมาเป็นวงกลมเมื่อไหร่จะเสียชีวิต

 

งูสวัดครึ่งซีก โรคงูสวัด โรค งูสวัด อาการงูสวัด รักษางูสวัด การรักษางูสวัด

ขอบคุณรูปจาก Fisle

 

ข้อเท็จจริง : ปกติการอักเสบเส้นประสาทของงูสวัดจะเป็นเส้นเดียว คนเราจะมีเส้นประสาทสองฝั่ง ซ้ายกับขวา ซึ่งเส้นประสาทนี้จะไม่ติดกัน

เส้นประสาทนี้จะเป็นแค่เส้นเดียว เป็นซ้ายก็ซ้าย ขวาก็ขวา แบ่งตรงกึ่งกลางตัวพอดี แต่ปัจจุบันเราจะมีคนไข้ที่เป็นภูมิคุ้มกันบกพร่องมากขึ้น เช่น ในคนไข้ที่เป็นHIV ซึ่งกลุ่มนี้แทบจะไม่มีภูมิในร่างกายเลย เพราะฉะนั้นงูสวัดก็จะเป็นสองเส้นได้ ออกมาพาดกัน

จริงๆ เขาอาจจะไม่ได้เสียชีวิตจากงูสวัดก็ได้ แต่เป็นการชีวิตจากโรคของเขาเอง ไม่ได้เกิดจากงูสวัด

  

ความเชื่อ : เป็นงูสวัดห้ามกินไข่

ข้อเท็จจริง : ได้กิน และยังดีต่อร่างกายด้วยซ้ำ เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่ราคาถูก หาง่าย มีประโยชน์ นอกจากนี้ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วย

 

ความเชื่อ : หากแม่ตั้งครรภ์เป็นงูสวัด ลูกต้องเป็นงูสวัด

ข้อเท็จจริง : ไม่เป็นความจริง ในกรณีที่แม่ตั้งครรภ์เกิดเป็นงูสวัดขึ้นมาก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะก็มีผู้เชี่ยวชาญมากมายออกมายืนยันแล้วว่าการเป็นงูสวัดไม่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์อย่างแน่นอน แต่ถ้าหากหญิงที่ตั้งครรภ์เป็นงูสวัดในช่วงก่อนคลอดบุตร 5-21 วันก็อาจจะทำให้เด็กเป็นโรคอีสุกอีใสได้ แต่จะมีอาการเพียงไม่กี่วันแล้วก็จะหายไป

ทั้งนี้แม่ที่เป็นงูสวัดในช่วงตั้งครรภ์ก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันผลกระทบหรือภาวะแทรกซ้อนที่คาดไม่ถึงได้

 

ความเชื่อ : เป็นงูสวัดแล้ว จะเป็นแผลเป็น

ข้อเท็จจริง : งูสวัดก็เช่นเดียวกับโรคอีสุกอีใส การดูแลตัวเองที่ดีพอ ไม่เกาที่แผลและไม่นำเข็มหรือของปลายแหลมมาจิ้มตุ่มน้ำใสให้แตก ไม่มีทางที่จะแผลเป็นอย่างแน่นอน

ดังนั้นหากมีอาการคันไม่ควรไปยุ่งกับบริเวณแผล แต่ควรรับประทานยาแก้คันแทน เพื่อบรรเทาอาการ

โดยนักโภชนาการให้ความเห็นว่า การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่และเพียงพอ ทำให้ร่างกายแข็งแรงและแผลงูสวัดหายเร็วขึ้น

  

การรักษางูสวัด

      สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคงูสวัดได้แก่เสลดพังพอนตัวผู้ เหงือกปลาหมอ พญายอ

      1. เสลดพังพอนตัวผู้

สารสกัดที่อยู่ในเสลดพังพอนตัวผู้ที่มีชื่อว่า irridoid มีฤทธิ์ลดการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสได้ด้วย เป็นสมุนไพรเป็นที่นิยมในการรักษางูสวัดและโรคเริม

2. เหงือกปลาหมอ

      เหงือกปลาหมอ ใช้รักษาพวก ฝี แผลอักเสบ แก้น้ำเหลืองเสียนอกจากนี้ยังใช้รักษาโรคงูสวัดอีกด้วย

      3. พญายอ

      จากการวิจัยของคุณสมชาย แสงกิจพร และคณะจากกระทรวงสาธารณสุข โดยการทดสอบประสิทธิผลของครีมพญายอเทียบกับยา Acyclovir เพื่อรักษาโรคงูสวัด พบว่า พญายอสามารถนำมารักษาผู้ป่วยโรคงูสวัดได้ผลดี โดยทำให้แผลตกสะเก็ด และหายเร็วขึ้นกว่า Acyclovir และยังลดระดับความเจ็บปวด อีกทั้งยังลดระยะเวลาของอาการปวดด้วยเช่นกัน

การป้องกันงูสวัด

 

วัคซีน โรคงูสวัด โรค งูสวัด อาการงูสวัด รักษางูสวัด การรักษางูสวัด

ขอบคุณรูปจาก Jason Taix

 

      เนื่องจากไวรัสงูสวัดเป็นไวรัสตัวเดียวกับโรคอีสุกอีใส เด็กรุ่นใหม่ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสตั้งแต่เด็กก็จะป้องกันโรคงูสวัดได้

หากอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่ประวัติเคยเป็นโรคอีสุกอีใส ซึ่งวัคซีนนี้จะช่วยป้องกันและลดภาวะการเกิดโรคงูสวัด ป้องกันภาวะปวดเรื้อรัง

     สำหรับในกรณีผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วยังเกิดงูสวัด วัคซีนนี้จะลดความเจ็บปวดจากโรคงูสวัดเมื่อผื่นงูสวัดหายไปแล้ว

     อย่างไรก็ดีวัคซีนนี้ไม่สามารถใช้เพื่อการรักษาโรคงูสวัดได้  ผู้ที่จะไปฉีดวัคซีนควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับวัคซีน เพราะอาจมีผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ในผู้ป่วยบางรายได้

     สิ่งที่ควรรู้ก็คือ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ไม่ใช่วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดได้  เพราะวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดมีความเข้มข้นสูงกว่าถึง 14 เท่า

     จากการศึกษาพบว่า วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดสามารถลดอุบัติการณ์เกิดโรคงูสวัดได้ถึงร้อยละ 51.3 และป้องกันการเกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาทในผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดได้ถึงร้อยละ 66.5

 

ออกกำลังกาย โรคงูสวัด โรค งูสวัด อาการงูสวัด รักษางูสวัด การรักษางูสวัด

ขอบคุณรูปจาก skeeze

 

      นอกจากการฉีดวัคซีนแล้วพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่นในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา, พญ.สุนทรี อิ่มอำนวยทรัพย์, siamhealth, โรงพยาบาลพญาไท, หมอชาวบ้าน, medicthai, ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, นพ.พิรัตน์ โลกาพัฒนา,kapook,สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, วารสารกรมการแพทย์

       ใบประกอบกิจการ

      ปฏิคมแพทย์แผนไทย ได้รับ ใบอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ในลักษณะการแพทย์แผนไทย จากกระทรวงสาธารณะสุข
      ซึ่งแสดงถึงการได้รับอนุญาติในการตั้งคลีนิค และทำการรักษา ได้ถูกต้องตามกฎหมาย
  
3-ใบอนุญาติประกอบการ-ยาสมุนไพร
 

กรอกข้อมูลเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือโทร 094-102-3766 หรือติดต่อผ่านLine : leejangmeng

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




บทความเพื่อสุขภาพ

อาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด
ดวงตากับการบำรุงสายตา
โรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร มีอะไรมากกว่ากินอาหารไม่ตรงเวลา
อยากเล่นPokemonGoแต่ปวดเข่า
ริดสีดวงทวารกับไฟเบอร์
ปัสสาวะบ่อย
นายกแพทย์สภาชี้ คนไทยสูงอายุร้อยละ 95 เสี่ยงเป็นโรคงูสวัด
เตือนภัยหญิงปวดท้องน้อยเรื้อรัง
จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรจีนบำรุงเลือดลม
5 สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน
สุดยอด 5 ผลไม้บำรุงเลือด
6 สารสกัดชนะวัยทอง
โหระพาแก้เข่าเสื่อม
5 อาหารต้านไมเกรน หาได้ง่าย
วิตามินและโรคข้อ
นักวิจัยพบช็อกโกแลตช่วยแก้ไอ
ไอเรื้อรัง
สาเหตุโรคไมเกรน
ปวดหลังเรื้อรัง
ความลับของโรคไต
รู้จักโรคงูสวัดกับคุณหมอสุนทรี
รู้จักโรคริดสีดวงทวารกับคุณหมอธีรพล อังกูลภักดีกุล
ริดสีดวงทวาร
วัยทอง article
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ article
ปวดเข่า
ปวดหลัง
ไมเกรน
โรคไต
เริม



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (169032)

 ดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น แมวโพง วันที่ตอบ 2023-06-29 11:16:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล