ReadyPlanet.com
dot
ยาสมุนไพร ประจำตระกูลหลี
dot
bulletยากระษัยเส้น
bulletยาบำรุงไต
bulletยาริดสีดวงทวาร
bulletยาแก้เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง
bulletยาสตรี วัยทอง
bulletยาบำรุงเลือดและลมปราณ
bulletยาบำรุงเลือดสตรี
bulletยาบ่วงเล่งตัง
bulletยาโรคกระเพาะ
bulletยาบำรุงสายตา
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
bulletOF บริการคลังสินค้า ออนไลน์
bulletอุปกรณป้องกันตัว ผู้หญิง
dot
สำหรับ พนักงาน
dot
bulletKnowledge Base


ยาสมุนไพร ยาสมุนไพรจีน : Facebook


ไอเรื้อรัง

 ไอเรื้อรัง


ไอ ไอเรื้อรัง รักษาอาการไอ รักษาอาการไอเรื้อรัง

อาการไอเรื้อรัง (Chronic cough)  หมายถึง อาการไอที่มีระยะเวลาติดต่อกันนานมากกว่า 8 สัปดาห์

โดยปกติอาการไอเป็นกลไกป้องกันของร่างกาย ช่วยในการขจัดเสมหะที่มีปริมาณมากหรือสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นอนุภาคหรือสารระคายเคือง น้ำหอม หรือบางกรณีอาจไม่มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามา แต่มีบางสิ่งไปกดทับที่เนื้อปอดหรือหลอดลม เช่น ก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งปอด ร่างกายจะรับรู้ว่ามีบางอย่างมาระคายอยู่ กลไกของร่างกายก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการไอ เพื่อพยายามจะขับออก แต่ขับไม่ออกเป็นผลให้เกิดการไอเรื้อรังขึ้น

อย่างไรก็ดี การไอเรื้อรังเป็นแหล่งในการแพร่เชื้อทางระบบทางเดินหายใจได้เช่นกัน

 

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นอาการไอเรื้อรัง

อาการไอเรื้อรังพบได้ถึงร้อยละ 11-20 ของประชากร โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

 

ไอ ไอเรื้อรัง รักษาอาการไอ รักษาอาการไอเรื้อรัง

 

นี้คือตัวอย่างของคนไข้ที่มีอาการไอเรื้อรัง

คนไข้ชายอายุ 67 ปี อาชีพทำสวน เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ มีอาการไอเรื้อรัง เป็นๆหายๆมา 30 ปี ช่วงเวลาที่เป็นจะไอทุกวัน ส่วนมากเป็นตอนกลางคืน ถ้าจะมีอาการไอจะไอทันที แล้วจะไอติดต่อกันประมาณ 9 – 10 ครั้ง  เสมหะมีบางครั้ง  แสบลำคอ กินแกงจะแสบปาก มีความรู้สึกเหมือนมีความร้อนขึ้นมาจากกระเพาะ

คนไข้หญิงอายุ 29 ปี อาชีพลูกจ้างบริษัท  เป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยที่ทุกๆ 6 – 7 เดือน จะมีอาการไอโดยไม่ทราบสาเหตุ  มีอาการไอแห้งๆ ไอจนปวดศีรษะ ตาแดง  ไอประมาณ 1 – 2 เดือนแล้วก็หาย อีก 6 – 7 เดือนก็กลับมาไอใหม่อีกรอบ วนเวียนอย่างนี้มาหลายปี

คนไข้หญิงอายุ 46 ปี ไอมา 4 ปี ไอตลอดวันตลอดคืน ไอจนหน้าตาซีดเซียว ร่างกายทรุดโทรม ไอจนหูอื้อ คอแห้ง เสมหะเหลือง

คนไข้หญิงอายุ 78 ปี ไอมา 4 – 5 เดือน ไม่ได้ไอตลอด ถ้าไอจะไอติดต่อกัน มีเสมหะเหนียวติดคอ เวลาหายใจจะมีเสียงครืดในลำคอ มีโรคประจำตัว เป็นโรคเบาหวาน ความดันสูง

คนไข้หญิงอายุ 46 ปี ไอเวลากลางคืน ก่อนไอจะคันคอก่อน บางครั้งไอมาก บางครั้งไอน้อย น้ำลายเหนียว เป็นมาหลายปี

คนไข้หญิงอายุ 51 ปี  ทอดอาหารขายมาหลายปี ทำให้ไอมาตลอด 10 ปี  ก่อนไอจะมีเสียงครอกๆที่คอก่อน ไอมีเสมหะนิดๆ ตอนกลางคืนจะแน่นที่คอ รู้สึกหายใจไม่สะดวก ต้องลุกขึ้นมานั่ง เอนนอนไม่ได้

จะเห็นได้ว่าลักษณะการไอเรื้อรังนั้น หลากหลายมาก ดังนั้นต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การซื้อยาแก้ไอมากินเองอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง

 

ผลกระทบของอาการโรคไอเรื้อรัง

ถึงแม้อาการไอส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง แต่อาการไอเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ เช่น อาจทำให้เสียบุคลิกภาพในการอยู่ร่วมในสังคมต่างๆ ทำให้เป็นที่รำคาญหรือเป็นที่รังเกียจของผู้อื่น และยังอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ อาจทำให้ผู้ป่วยกังวลถึงสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง ว่ามีโรคที่เป็นอันตรายซ่อนอยู่หรือไม่อาจทำให้ผู้ป่วยต้องขาดเรียนหรือขาดงานหรือทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ

ผู้ป่วยไอเรื้อรังบางรายอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงในการต้องไปหาแพทย์หลายท่านหรือต้องเสียเงินซื้อยาแก้ไอหลายขนาน

ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุมาก การไอมากๆ อาจทำให้กระดูกอ่อนซี่โครงหักได้หรือทำให้ถุงลมหรือเส้นเลือดฝอยในปอดแตกออกสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด(pneumothorax or hemothorax) เกิดอาการหอบเหนื่อย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

นอกจากนี้ไอเรื้อรังยังมีผลเสียต่อการผ่าตัดตาและหู เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การไออาจทำให้เลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่ไว้ในลูกตาหลุดออกได้  หรือการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูการไออาจทำให้เยื่อแก้วหูเทียมที่วางไว้เคลื่อนที่ออกมาได้

อาการไอเรื้อรังอาจรบกวนการรับประทานอาหาร การนอนหลับ บางรายอาจไอมากจนเป็นลม (syncope) หรือมีปัสสาวะราด (urinary incontinence)

 

สาเหตุของอาการโรคไอเรื้อรัง

เรื่องน่าประหลาดใจอย่างหนึ่งพบว่า ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรังร้อยละ 85 เป็นคนแข็งแรงมาก่อน ไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่สูบบุหรี่ ไม่ได้รับประทานยา angiotensin-convertingenzymeinhibitor (ACEI) และมีภาพรังสีทรวงอกปกติ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของการไอเรื้อรัง ได้แก่

ปอด ไอ ไอเรื้อรัง รักษาอาการไอ รักษาอาการไอเรื้อรัง

 

1.          วัณโรคปอด  มักพบในคนวัยกลางคนขึ้นไป หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ (เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นเอดส์ เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง ขาดอาหาร พิษสุราเรื้อรัง ผู้ติดยาเสพติด คนชรา ผู้ที่ตรากตรำงานหนัก เป็นต้น) หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดเป็นระยะยาวนาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง (อาจไอมีเสมหะหรือไม่มีก็ได้) ร่วมกับไข้เรื้อรังนานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นแรมเดือน และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย บางรายอาจไอออกเป็นเลือดสด เจ็บหน้าอกหรือหอบเหนื่อย

มะเร็งปอด ไอ ไอเรื้อรัง รักษาอาการไอ รักษาอาการไอเรื้อรัง

 

2.          มะเร็งปอด  มักพบในคนวัยกลางคนขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง (อาจไอมีเสมหะหรือไม่มีก็ได้) อาจไอออกเป็นเลือดสด บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ร่วมด้วย
ผู้ป่วยมักมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน โดยผู้ที่สูบบุหรี่มีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดเป็น 10 เท่าของผู้ที่ไม่สูบ แต่บางรายอาจไม่มีประวัติสูบบุหรี่ก็ได้ เช่น สูดดมสารพิษที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด อาทิ สารจำพวกแร่ใยหิน ที่ผสมอยู่ในวัสดุก่อสร้าง

3.          ถุงลมปอดโป่งพอง  มักพบในวัยกลางคนขึ้นไปและมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอแบบมีเสมหะเรื้อรัง และหอบเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลาออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ

4.          หืด  พบได้ตั้งแต่วัยเด็ก มักมีอาการไอร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงดังวี้ด เมื่อสัมผัสถูกสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้น เช่น ไรฝุ่นบ้าน (พบตามที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นที่ทำด้วยนุ่นหรือเป็นขน ๆ) เชื้อรา การออกกำลังกาย

5.          หลอดลมอักเสบ  มักพบหลังเป็นไข้หวัด ช่วงแรกมักไอมีเสมหะ (อาจเป็นสีขาว สีเขียวหรือสีเหลือง) บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย เมื่ออาการไข้ทุเลาและเสมหะลดน้อยลงและเปลี่ยนเป็นสีขาว (ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมาแล้ว) ผู้ป่วยจะมีอาการไอแบบระคายคอ อาจมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาวหรือใส ๆ หรืออาจไอแบบไม่มีเสมหะ มักจะไอมากเวลาถูกสิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฝุ่นละออง ลมที่พัดใส่ อากาศเย็น เป็นต้น อาการจะค่อย ๆ ทุเลา กว่าจะหายขาด อาจใช้เวลา 1-3 เดือน

ภูมิแพ้ ไอ ไอเรื้อรัง รักษาอาการไอ รักษาอาการไอเรื้อรัง

6.          โรคภูมิแพ้  มักมีอาการคันจมูก คันคอ ไอ จาม บางรายมีน้ำมูกใส ๆ ร่วมด้วย มักมีอาการเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่นละอองเกสร ขนสัตว์ อากาศเย็น เป็นต้น
อาการจะทุเลาเมื่อกินยาแก้แพ้ และกำเริบอีกเมื่อหยุดยา

7.          โรคกรดไหลย้อน  มักพบในวัยกลางคนขึ้นไป (แต่ก็อาจพบในวัยหนุ่มสาวได้) มักมีอาการไอแห้ง ๆ หลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังกินอาหารเกือบทุกมื้อ ไอเรื้อรังทุกวันนานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือแรมเดือน โดยที่สุขภาพแข็งแรงดี บางรายอาจมีอาการแสบคอ หรือเสียงแหบช่วงหลังตื่นนอน พอสาย ๆ ทุเลาไปเอง บางรายอาจมีอาการแสบอก จุกอก หรือแสบจุกคอ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า หลอดอาหารส่วนบนผิดปกติ(
Gastroesophageal reflux disease : GERD) การทำงานของระบบป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนผิดปกติจึงมีกรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอย กล่องเสียง และปอดได้

8.          ผลข้างเคียงจากยาลดความดันกลุ่มต้านเอช (ACE inhibitors) เช่น อีนาลาพริล (enalapril)  ผู้ป่วยกลุ่มนี้โรคความดันโลหิตสูง หรือกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคไต มักมีอาการไอแห้ง ๆ บ่อย ๆ ทุกวันเรื้อรังเป็นสัปดาห์ ๆ หรือแรมเดือน โรคที่สุขภาพแข็งแรงดี บางรายอาจไอจนปัสสาวะเล็ด ภาวะนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยหญิง แทบทุกคนเคยพบว่าหลังจากเป็นไข้หวัด ในบางครั้งจะมีอาการไอโครก ๆ นานเป็นแรมเดือน น่ารำคาญ ทำอย่างไรก็ไม่ยอมหายดังใจอยาก ในที่สุดก็ค่อย ๆ ทุเลาไปเอง บางครั้งอาจไอเรื้อรังนานถึง 3 เดือน (จนมีการเรียกขานว่า "ไอ 3 เดือน") 

Postnasal drip syndrome ไอ ไอเรื้อรัง รักษาอาการไอ รักษาอาการไอเรื้อรัง

9.          Post-nasal drip syndrome  เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีสิ่งคัดหลั่งจากเยื่อบุจมูก ไซนัสไหลลงคอกระตุ้นให้เกิดอาการไอ เหนื่อย หรือหายใจมีเสียงหวีด ซึ่งอาจเกิดจากเยื่อบุจมูกอักเสบ ภาวะภูมิแพ้ หรือภาวะไซนัสอักเสบ

10.     หลอดลมโป่งพอง  เป็นโรคที่หลอดลมขยายตัวและถูกทำลายและมีความผิดปกติแบบถาวร ทำให้มีการคั่งค้างของเสมหะและกระบวนการกำจัดเสมหะของร่างกายจากหลอดลมผิดปกติไป ก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อของหลอดลมเป็น ๆ หาย ๆ

11.     โรคปอดเรื้อรัง  อาทิเช่น พังผืดที่เนื้อเยื่อปอด

12.     ภาวะหัวใจวาย

CPAP ไอ ไอเรื้อรัง รักษาอาการไอ รักษาอาการไอเรื้อรัง

13.     ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  อาการไอดังกล่าวสามารถหายไปได้หลังให้การรักษาด้วย continuous positiveairway pressure(CPAP) คือ การเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอ และโคนลิ้น ซึ่งเป็นส่วนทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ

14.     Post - infection cough  ส่วนใหญ่เป็นอาการไอที่เกิดตามหลังการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract infection) โดยการติดเชื้อดังกล่าว ทำให้เกิด hyper-sensitive cough reflex ซึ่งตามปกติอาการไอจากสาเหตุนี้มักจะไอไม่เกิน 3 สัปดาห์
แต่ถ้าผู้ป่วยมีการติดเชื้อของทางเดินหายใจจากเชื้อ Mycoplasma และ Bordetella pertussis ผู้ป่วยอาจมีอาการไอเรื้อรังได้นานถึง 8 สัปดาห์ทีเดียว

บุหรี่ ไอ ไอเรื้อรัง รักษาอาการไอ รักษาอาการไอเรื้อรัง

 

15.     อาการไอจากการสูบบุหรี่ (smoking-related cough)  ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีปัญหาไอเรื้อรัง 2-3 เท่าของคนปกติขณะที่ ผู้ที่รับควันบุหรี่มือสอง จะมีปัญหาไอเรื้อรัง 1.3-1.6 เท่าของคนปกติ อาการไอเรื้อรังจะลดลง หรืออาจหายไปได้ถ้าหยุดสูบบุหรี่

16.     อาการไอจากอาชีพ (occupational cough)  ผู้ป่วยที่ไอเรื้อรังบางรายมีสาเหตุจากสารระคายเคืองจากการประกอบอาชีพ เช่น โรงงานขวดแก้ว โรงงานที่ใช้สารที่เป็นกรดหรือด่าง หรือ โรงงานที่มีฝุ่นมาก เป็นต้น ผู้ป่วยเหล่านี้มักมีอาการดีขึ้นในช่วงวันหยุด และอาการกำเริบในช่วงวันทำงาน

17.     อาการไอที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic cough)  พบว่าร้อยละ 40 ของผู้ป่วยที่มีปัญหาไอเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดหลังจากได้พยายามค้นหาสาเหตุแล้ว ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาการไอที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือ chronic coughhypersensitivity syndrome ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพบในผู้หญิงมักไอไม่ค่อยมีเสมหะมักจะมีสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้มากกว่า 1 ชนิด เช่น การพูด อากาศเย็น กลิ่น ผู้ป่วยมักรู้สึกว่ามีอาการคันหรือระคายคอ (laryngeal hypersensitivity) ก่อนมีอาการไอ และโรคนี้มักทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง

18.     Psychogenic cough ปัญหานี้พบส่วนใหญ่ในเด็กและวัยรุ่น การวินิจฉัยส่วนใหญ่เป็นการวินิจฉัยโดยแยกโรคอื่นๆ ออกไป ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักจะมีปัญหาวิตกกังวลชัดเจน ซึ่งบางครั้งความวิตกกังวลดังกล่าวอาจเกิดจากปัญหาไอเรื้อรังเอง

 

กินยาอม แก้ไอเรื้อรังได้หรือไม่ 

ยาที่ใช้ในการรักษาอาการไอมีหลายชนิด โดยออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ยาแก้ไอบางชนิดออกฤทธิ์โดยการกดอาการไอ ซึ่งจะมีผลข้างเคียง คือง่วงซึม ส่วนยาบางตัวระงับอาการไอ โดยลดการกระตุ้น หรือการระคายเคือง เช่น ยาอมที่มีรสเผ็ดหรือรสเมนทอล และอาจมียาฆ่าเชื้อผสมอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามแนะนำว่าไม่ควรซื้อยาแก้ไอมารับประทานเอง โดยพร่ำเพรื่อเพราะอาจใช้ไม่ถูกต้อง และอาจทำให้โรคที่เป็นอยู่ไม่ได้รับการรักษาและเป็นมากขึ้น

หรือพูดภาษาชาวบ้าน คือ ไปพบแพทย์จะดีที่สุดที่จะรักษาอาการไอเรื้อรัง

 

การดูแลตัวเองในผู้ที่มีอาการไอเรื้อรัง

1.          พบแพทย์ จะเห็นได้ว่าสาเหตุของไอเรื้อรังมีมากมาย การพบแพทย์เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจะดีที่สุด และทำตามที่แพทย์บอก

2.          งดอาหารทอดในรายที่เป็นไอเรื้อรัง เนื่องจากกรดไหลย้อน

3.          งดการดื่มน้ำเย็น ไอศครีม หรืออาหารที่ทำให้ระคายคอ อันทำให้ไอเรื้อรังนั้นแย่ลง

4.          จิบน้ำอุ่นบ่อยๆ ในรายที่จากไอเรื้อรังเนื่องจากเสมหะ

5.          งดสูบบุหรี่หรือเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่

6.          การดื่มชาร้อนผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำขิงร้อน ก็ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังได้เป็นอย่างดี

7.          การพักผ่อนและการงดใช้เสียงก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ถ้าผู้ป่วยยังพูดมากอาการไอจะไม่ทุเลา

8.          หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ เช่น สารเคมี ควันบุหรี่ ฝุ่น มลพิษทางอากาศ สารก่ออาการระคายเคือง เพียงเท่านี้ก็ห่างจากอาการไอเรื้อรังได้แล้ว

9.          หลีกเลี่ยงสัมผัสอากาศเย็นๆ โดยเฉพาะแอร์ ควรตั้งอุณหภูมิให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมทำให้หลอดลมหดตัว ทำให้มีอาการไอมากขึ้นได้

10.     กรณีใช้พัดลม ไม่ควรเปิดเบอร์แรงสุด และควรให้พัดลมส่ายไปมา

 

จะเห็นได้อาการไอเรื้อรังไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อย่าประมาท ยิ่งไอเรื้อรังยิ่งต้องระวังมากเป็นพิเศษ สังเกตอาการไอ หากรู้สึกผิดปกติเมื่อไหร่ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงที่อาจตามมาโดยไม่รู้ตัว      ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

การรักษาอาการไอเรื้อรัง

สมุนไพรจีนที่ใช้ในการรักษาอาการไอแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. สมุนไพรจีนที่มีรสเผ็ด ฤทธิ์อุ่น ที่ใช้ในการรักษาอาการไอและมีเสมหะที่เกิดจากความเย็น( 温化痰药) ได้แก่ ปั่วแห่( ) เทียนน่ำแช( 天南星) แปะหู่จื้อ(白附子) เจ่าเก่ย(皂荚) โซวจี้(苏子) แปะก่ายจี้(白芥子) แปะเจ่ย(白前) กิกแก้(桔梗)

2. สมุนไพรจีนที่มีรสขม หรือหวาน ฤทธิ์เย็น ที่ใช้ในการรักษาอาการไอและมีเสมหะที่เกิดจากความร้อน(淸化热痰药) ได้แก่ เจ่ยโอว(前胡)   ปวยบ้อ(贝母) กวยลู้(瓜蒌) เต๊กหยู่(竹茹) เทียนเต๊กอึ้ง(天竺黃) คุงโปว(昆布) ไฮเช่า(海藻) อึ้งเอียะจี(黃药脂

3. สมุนไพรจีนที่ใช้ในการรักษาอาการไอและหอบหืด(止咳平喘药ได้แก่ เห้งยิ้ง(杏仁) ซึงแปะพ้วย(桑白皮) ค่วงตังฮวย(款冬花) จี๋อ้วง(紫菀) แปะโป๋ว(百部) ปี่แป๊เฮียะ(枇杷叶) เทียนเต๊กจี้(天竺子) เชยยิกอัง(千日红)

การจะใช้สมุนไพรตัวใดในการรักษาจะต้องพิจารณาให้รอบคอบและใช้ให้ถูกกับโรค

ขอขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลมหาชัย,หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, Nationejobs, NK Sleepcare, kapook และ สรรพคุณสมุนไพรจีนจากหนังสือ 中藥臨床手册 ที่เรียบเรียงโดย 上海中醫學院方藥敎研組

 

      ใบประกอบกิจการ

      ปฏิคมแพทย์แผนไทย ได้รับ ใบอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ในลักษณะการแพทย์แผนไทย จากกระทรวงสาธารณะสุข
      ซึ่งแสดงถึงการได้รับอนุญาติในการตั้งคลีนิค และทำการรักษา ได้ถูกต้องตามกฎหมาย
  

 

3-ใบอนุญาติประกอบการ-ยาสมุนไพร
 

 

กรอกเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือโทร 094-102-3766 หรือติดต่อผ่านLine : leejangmeng



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




บทความเพื่อสุขภาพ

อาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด
ดวงตากับการบำรุงสายตา
โรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร มีอะไรมากกว่ากินอาหารไม่ตรงเวลา
อยากเล่นPokemonGoแต่ปวดเข่า
ริดสีดวงทวารกับไฟเบอร์
ปัสสาวะบ่อย
นายกแพทย์สภาชี้ คนไทยสูงอายุร้อยละ 95 เสี่ยงเป็นโรคงูสวัด
เตือนภัยหญิงปวดท้องน้อยเรื้อรัง
จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรจีนบำรุงเลือดลม
5 สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน
สุดยอด 5 ผลไม้บำรุงเลือด
6 สารสกัดชนะวัยทอง
โหระพาแก้เข่าเสื่อม
5 อาหารต้านไมเกรน หาได้ง่าย
วิตามินและโรคข้อ
นักวิจัยพบช็อกโกแลตช่วยแก้ไอ
สาเหตุโรคไมเกรน
ปวดหลังเรื้อรัง
ความลับของโรคไต
รู้จักโรคงูสวัดกับคุณหมอสุนทรี
รู้จักโรคริดสีดวงทวารกับคุณหมอธีรพล อังกูลภักดีกุล
ริดสีดวงทวาร
วัยทอง article
รู้หรือไม่ งูสวัดเริ่มจากอีสุกอีใส article
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ article
ปวดเข่า
ปวดหลัง
ไมเกรน
โรคไต
เริม



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล