ReadyPlanet.com
dot
ยาสมุนไพร ประจำตระกูลหลี
dot
bulletยากระษัยเส้น
bulletยาบำรุงไต
bulletยาริดสีดวงทวาร
bulletยาแก้เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง
bulletยาสตรี วัยทอง
bulletยาบำรุงเลือดและลมปราณ
bulletยาบำรุงเลือดสตรี
bulletยาบ่วงเล่งตัง
bulletยาโรคกระเพาะ
bulletยาบำรุงสายตา
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
bulletOF บริการคลังสินค้า ออนไลน์
bulletอุปกรณป้องกันตัว ผู้หญิง
dot
สำหรับ พนักงาน
dot
bulletKnowledge Base


ยาสมุนไพร ยาสมุนไพรจีน : Facebook


นายกแพทย์สภาชี้ คนไทยสูงอายุร้อยละ 95 เสี่ยงเป็นโรคงูสวัด

 นายกแพทย์สภาชี้ คนไทยสูงอายุร้อยละ 95 เสี่ยงเป็นโรคงูสวัด

 

นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา งูสวัด,โรคงูสวัด,โรค งูสวัด,อาการ งูสวัด,อาการงูสวัด,รักษา งูสวัด,รักษางูสวัด,การรักษางูสวัด,การรักษา งูสวัด

 

     ในช่วงที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ได้มาร่วมให้ความรู้ในหัวข้อ “ความจริงที่ควรรู้....งูสวัด ภัยเงียบในผู้สูงอายุ” เพื่อให้ความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับโรคงูสวัด  โดยเฉพาะผลกระทบของโรคงูสวัดต่อผู้สูงอายุ และแนวทางป้องกันโรคงูสวัดอย่างถูกตัอง

 

     ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ ได้บอกกับผู้อบรมว่า โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลล่า ซอสเตอร์ (varicella zoster virus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส ดังนั้นใครที่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใสจึงเสี่ยงเป็นโรคงูสวัดทุกคน

     ที่ไม่น่าเชื่อก็คือไวรัสวาริเซลล่า ซอสเตอร์ นอกจากติดต่อผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำใสตรงโดยแล้ว ยังสามารถติดต่อผ่านทางการหายใจได้อีกด้วย

 

นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา งูสวัด,โรคงูสวัด,โรค งูสวัด,อาการ งูสวัด,อาการงูสวัด,รักษา งูสวัด,รักษางูสวัด,การรักษางูสวัด,การรักษา งูสวัด

 

     หลังจากหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัสซอสเตอร์จะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกายเป็นเวลาแรมปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆให้เห็น  จนกระทั่งเมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เชื้อที่แฝงอยู่จะเพิ่มจำนวนและกระจายตามแนวเส้นประสาททำให้เกิดเป็นผื่นคัน แล้วกลายเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาทกลายเป็นโรคงูสวัดนั่นเอง

     ดังนั้น ถ้าใครเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เมื่อมากขึ้นภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงเสี่ยงเป็นโรคงูสวัดได้กันทั้งนั้น

     ซึ่งจากสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยโรคงูสวัดกว่า 1 ล้านรายต่อปี

     ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคงูสวัดมีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป เพราะประชาชนเกือบทุกคนมักเคยเป็นโรคอีสุกอีใส ดังนั้น คนไทยวัยสูงอายุร้อยละ 95 จึงเสี่ยงเป็นโรคงูสวัด

 

     อาการเริ่มแรกของ งูสวัด จะรู้สึกไม่ค่อยสบาย อาจมีไข้ ปวดตามแนวเส้นประสาทที่จะเกิดงูสวัด บางรายอาจจะปวดแสบปวดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้ ซึ่งบางคนก็คิดว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบหรือไมเกรน โดยมากเกิดเพียงซีกใดซีกหนึ่งของใบหน้า ทรวงอก แขนขา ชายโครง 3-4 วันต่อมาจะมีผื่นแดงๆขึ้นตรงบริเวณที่ ปวดแล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใสเรียงเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาท

     หลังจากนั้นอีก 2-3 วันต่อมา อาการของงูสวัดจะเริ่มเด่นชัดมากขึ้น ตุ่มน้ำใสจะกลายเป็น ตุ่มเหลืองขุ่นแล้วแตกและค่อยแห้งเป็นสะเก็ด งูสวัดมักหายเองใน 2-3 อาทิตย์

     แต่เมื่อผื่นหายแล้วอาจจะยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทเรื้อรัง หรือ Post Herpetic Neuralgia (PHN) ซึ่งอาจจะปวดได้อีก 3-12 เดือนในบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย

 

     ภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัดเป็นสิ่งที่น่ากังวลมาก

     พบว่าภาวะแทรกซ้อนและอาการปวดเรื้อรังในร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป และมากกว่าร้อยละ 70 ในผู้ป่วยอายุ 70 ปีขึ้นไป จะเห็นได้ว่ายิ่งอายุมากยิ่งเป็นรุนแรงและนาน

 

     อาการแทรกซ้อนที่พบบ่อยก็คืออาการปวดเรื้อรัง ทำให้มีอาการปวดลึกๆ ปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา อาจจะปวดแม้ถูกสัมผัสเพียงเบาๆ หรืออาจจะปวดมากเวลากลางคืนหรืออากาศเปลี่ยนแปลง และหากขึ้นที่ใบหน้าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียที่ตา ทำให้ตาอักเสบ หรือเป็นแผลที่กระจกตา และอาจส่งผลให้ตาบอดได้  หรือภาวะแทรกซ้อนทางหู หรือบางรายอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบได้น้อย เช่น ปอดอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

 

     อาการปวดแทรกซ้อนนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงมาก เพราะปวดจนเกิดอาการเหน็บชา บางก็ไม่อาจสามารถขยับร่างกายได้ มีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ซึ่งกระทบต่อความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน เมื่ออายุมากขึ้น ความรุนแรงของโรคงูสวัดก็มีมากขึ้นตามไปด้วย  ในบางรายนั้นอาจจะเรื้อรังเป็นเดือน เป็นปี คาดเดาได้ว่าจะส่งผลถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วย จึงเห็นผู้ป่วยบางรายมีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน หมดความมั่นใจ ไม่อยากพบผู้คน ฯลฯ งานวิจัยเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคงูสวัดกับโรคเรื้อรังอื่นๆ พบว่า ผู้ป่วยโรคงูสวัดมีสุขภาพโดยรวมแข็งแรงกว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ  หรือโรคความดันโลหิตสูง แต่กลับมีภาวะการควบคุมการทำงานของร่างกาย และสุขภาพจิตต่ำกว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ  จึงเห็นได้ว่าความทุกข์และความเจ็บปวดจากโรคงูสวัดส่งผลต่อด้านอื่นๆด้วย

 

     จากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า การป้องกันโรคงูสวัดเป็นเรื่องที่ดีมาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่โรคจะแพร่กระจายและรุนแรงมากกว่า  เริ่มง่ายๆจากการรับประทานอาหารให้เพียงพออยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ

     หากอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่ประวัติเคยเป็นโรคอีสุกอีใส ซึ่งวัคซีนนี้จะช่วยป้องกันและลดภาวะการเกิดโรคงูสวัด ป้องกันภาวะปวดเรื้อรัง

     สำหรับในกรณีผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วยังเกิดงูสวัด วัคซีนนี้จะลดความเจ็บปวดจากโรคงูสวัดเมื่อผื่นงูสวัดหายไปแล้ว

     อย่างไรก็ดีวัคซีนนี้ไม่สามารถใช้เพื่อการรักษาโรคงูสวัดได้  ผู้ที่จะไปฉีดวัคซีนควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับวัคซีน เพราะอาจมีผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ในผู้ป่วยบางรายได้

 

     สิ่งที่ควรรู้ก็คือ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ไม่ใช่วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดได้  เพราะวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดมีความเข้มข้นสูงกว่าถึง 14 เท่า

     จากการศึกษาพบว่า วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดสามารถลดอุบัติการณ์เกิดโรคงูสวัดได้ถึงร้อยละ 51.3 และป้องกันการเกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาทในผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดได้ถึงร้อยละ 66.5 

     เนื่องจากงูสวัดเป็นโรคติดต่อ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงจากผู้ป่วยโรคงูสวัด แยกสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม และที่นอนจากผู้ป่วย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสตุ่มน้ำหรือแผลของผู้ป่วย ส่วนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคงูสวัดแบบแพร่กระจาย สามารถแพร่เชื้อได้ทางการหายใจ ดังนั้น ควรแยกผู้ป่วยไม่ให้ใกล้ชิดกับผู้ไม่เคยเป็นโรค

 

      ขอบคุณรูปจาก thaihospital และคุณ John Pozniak

 

      ใบประกอบกิจการ

      ปฏิคมแพทย์แผนไทย ได้รับ ใบอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ในลักษณะการแพทย์แผนไทย จากกระทรวงสาธารณะสุข
      ซึ่งแสดงถึงการได้รับอนุญาติในการตั้งคลีนิค และทำการรักษา ได้ถูกต้องตามกฎหมาย
  

 

3-ใบอนุญาติประกอบการ-ยาสมุนไพร
 

กรอกข้อมูลเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือโทร 094-102-3766 หรือติดต่อผ่านLine : leejangmeng



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




บทความเพื่อสุขภาพ

อาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด
ดวงตากับการบำรุงสายตา
โรคกระเพาะ โรคกระเพาะอาหาร มีอะไรมากกว่ากินอาหารไม่ตรงเวลา
อยากเล่นPokemonGoแต่ปวดเข่า
ริดสีดวงทวารกับไฟเบอร์
ปัสสาวะบ่อย
เตือนภัยหญิงปวดท้องน้อยเรื้อรัง
จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรจีนบำรุงเลือดลม
5 สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน
สุดยอด 5 ผลไม้บำรุงเลือด
6 สารสกัดชนะวัยทอง
โหระพาแก้เข่าเสื่อม
5 อาหารต้านไมเกรน หาได้ง่าย
วิตามินและโรคข้อ
นักวิจัยพบช็อกโกแลตช่วยแก้ไอ
ไอเรื้อรัง
สาเหตุโรคไมเกรน
ปวดหลังเรื้อรัง
ความลับของโรคไต
รู้จักโรคงูสวัดกับคุณหมอสุนทรี
รู้จักโรคริดสีดวงทวารกับคุณหมอธีรพล อังกูลภักดีกุล
ริดสีดวงทวาร
วัยทอง article
รู้หรือไม่ งูสวัดเริ่มจากอีสุกอีใส article
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ article
ปวดเข่า
ปวดหลัง
ไมเกรน
โรคไต
เริม



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล