ยาสมุนไพร ประจำตระกูลหลี |
ยากระษัยเส้น |
ยาบำรุงไต |
ยาริดสีดวงทวาร |
ยาแก้เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง |
ยาสตรี วัยทอง |
ยาบำรุงเลือดและลมปราณ |
ยาบำรุงเลือดสตรี |
ยาบ่วงเล่งตัง |
ยาโรคกระเพาะ |
ยาบำรุงสายตา |
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน |
OF บริการคลังสินค้า ออนไลน์ |
อุปกรณป้องกันตัว ผู้หญิง |
สำหรับ พนักงาน |
Knowledge Base |
ปวดเข่า ปวดเข่า
เมื่อมีอาการปวดเข่า คนส่วนใหญ่คิดว่าเกิดจากอายุที่มากขึ้น น่าจะเป็นเรื่องธรรมดาของคนแก่ รู้สึกตัวอีกที อาการปวดเข่านี้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปเสียแล้ว เมื่อมีอาการปวดเข่าก็รับประทานยาแก้ปวด หยุดทำกิจกรรมที่เคยทำ อดสนุกไปกับชีวิต แล้วยอมรับว่าร่างกายของเรามาได้แค่นี้ ดังนั้นเราต้องมาเข้าใจกันก่อนว่า อาการปวดเข่าเกิดขึ้นได้อย่างไร อย่าถอดใจยอมแพ้
กายภาพของเข่า
ข้อเข่าประกอบด้วยกระดูกสองชั้นมาต่อกัน คือ ปลายกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง มีกระดูกสะบ้าวางอยู่ข้างหน้าข้อเข่า จะเห็นว่าโครงสร้างของข้อเข่าไม่ค่อยจะมั่นคงนัก ต้องอาศัยกล้ามเนื้อและพังผืดที่ห่อหุ้มอยู่รอบๆข้อเป็นตัวค้ำจุน โดยเฉพาะตัวเรานี้ ไม่เพียงแต่ทิ้งน้ำหนักลงมาที่ข้อเข่านี้ในขณะลุกขึ้นยืนเท่านั้น เรายังกระแทกทุกครั้งที่เราวิ่งหรือกระโดด ซึ่งทำให้ข้อเข่าต้องรับภาระอย่างหนักตลอดเวลา
ขอบคุณรูปจาก Unsplash ถึงแม้กล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลังข้อเข่าจะเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุดในร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อจะอ่อนแอลงและในตอนนี้เองน้ำหนักตัวเขาเรามักจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เป็นเหตุให้อาการปวดเข่าพบมากในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือหลังวัยหมดประจำเดือน
แต่ในปัจจุบันพบว่า สาเหตุของอาการปวดเข่ามีจากหลายสาเหตุ
สาเหตุของอาการปวดเข่า
1. ข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2. ภาวะข้อเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่างโครงสร้าง กระดูกอ่อนผิวข้อนุ่มกว่าปกติ มีการแตกของผิวข้อ 3. ข้ออักเสบจากโรคเกาต์ 4. ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน 5. ภาวะติดเชื้อในกระดูกหรือข้อ 6. ภาวะติดเชื้อจากโรคอื่น ๆ เช่น หนองใน เนื้องอกหรือมะเร็งที่กระดูก
7. โรคกระดูกพรุน
ขอบคุณรูปจาก Unsplash 8. อายุที่มากขึ้น ทำให้เกิดข้อเสื่อมได้ ทำให้ปวดเข่าได้ ขอบคุณรูปจาก Wadams 9. รับน้ำหนักมากเกิน เช่น อาชีพกรรมกรแบกหาม หรือเป็นคนอ้วน ทำให้ปวดเข่าได้ ในกรณีผู้ป่วยมีอายุมากหรือรับน้ำหนักมากนั้น ภาวะข้อเสื่อมเกิดขึ้นเมื่อผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายโดยอาจมีการลอกหลุด หรือบางลงจนมีอาการปวดเข่าหรือข้อไม่อาจเคลื่อนไหวได้อย่างลื่นไหล คล่องแคล่ว และเต็มองศาการเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม
ขอบคุณรูปจาก arttabel 10. ประกอบอาชีพที่ต้องยืนนานๆ 11. ได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่า 12. กรรมพันธุ์
ขอบคุณรูปจาก Greyerbaby
13. อาการปวดเข่าจากกล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุลกัน มักจะเกิดขึ้นกับนักกีฬาบางประเภท ที่ต้องใช้เข่ารับน้ำหนักมาก เช่น นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน นักบาสเกตบอล นักฟุตบอล นักกอล์ฟ เป็นต้น โรคปวดเข่าเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ค่อยมีโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้างแรง แต่จะมีอันตรายที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดข้อและยาสเตอรอยด์อย่างพร่ำเพรื่อ
อาการของโรคปวดเข่า
1. จะมีอาการปวดขัดในข้อเข่าเรื้อรังเป็นแรมเดือน แรมปี หรือในบางรายมีอาการปวดจะปวดเสียว เสียวแปล๊บๆ หรือมีอาการปวดร่วมกับอาการตึงร้าวจากต้นขาหรือข้อสะโพก 2. อาจมีเสียงกรอบแกรบขณะที่เคลื่อนไหว ซึ่งเสียงที่เกิดขึ้นอาจมาจากการเสียดสี ของผิวข้อภายในข้อเข่า 3. มักจะอาการปวดเข่ามากเวลาเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน หรืออยู่ในท่างอเข่า หรือท่านั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบ หรือเดินขึ้นลงบันได หรือยกของหนัก 4. มักมีอาการปวดเข่าหรือปวดข้อตอนกลางคืน หรือเวลาอากาศเย็นชื้น 5. หากปล่อยอาการปวดเข่าไว้นาน จะมีการอักเสบบวม บวมแดง หากปวดเข่าเรื้อรังเป็นเวลานานก็จะกลายเป็นสาเหตุของภาวะข้อเสื่อมซึ่งเป็นภาวะที่บั่นทอนประสิทธิภาพการใช้งานของข้อลง 6. มีการผิดรูปของข้อเข่า ซึ่งเกิดจากผิวข้อ (Articular Cartilage) บางลง แล้วตัวของกระดูกมีการเสียดสีกัน จนเกิดกระดูกงอก ทำให้เข่าผิดรูปและขยาย ซึ่งพบว่าผู้ที่มีเข่าเสื่อมอย่างรุนแรง รอบข้อเข่าจะใหญ่ขึ้น
ข้อแนะนำของผู้ป่วยโรคปวดเข่า 1. ถ้ามีอาการปวดเข่าให้พัก เช่น อย่าเดินมาก อย่ายืนนาน
ขอบคุณรูปจาก PublicDomainPictures 2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อาการปวดเข่ากำเริบ เช่น ยกของหนัก ยืนนาน นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ เดินขึ้นลงบันได 3. หากต้องการออกกำลังกาย ควรพิจารณาถึงแรงกระแทกที่จะมีผลต่อข้อ
ขอบคุณรูปจาก skeeze · แอโรบิค ควรออกเลือกท่าที่ใช้ความแรงระดับเบาถึงปานกลาง · เดินเร็ว เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีกล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงเพียงพอ · การปั่นจักรยาน ปรับความสูงของอานนั่งให้สูงกว่าปกติเล็กน้อยหรือให้พอเหมาะ เพื่อลดการงอเข่าที่มากเกินไป หลีกเลี่ยง การถีบจักรยานที่ตั้งความฝืด ระดับความสูงไม่เหมาะสม จะเพิ่มความบาดเจ็บให้กับข้อเข่าได้ เพราะมีการเสียดสีกันของข้อเข่า
4. การออกกำลังกายในน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มี ภาวะเข่าเสื่อม น้ำมีแรงพยุงตัวท้าให้ข้อเข่ารับน้ำหนักน้อยลง จึงเหมาะกับผู้ที่มี อาการปวดเข่าและมีน้ำหนักตัวมาก แรงหนืดของน้ำ ทำให้ต้องออกแรงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ดี 5. ควรหลีกเลี่ยงกีฬา ดังต่อไปนี้
ขอบคุณรูปจาก moerschy
5.1 การวิ่งจ๊อกกิ้ง เทนนิส แบดมินตัน เวลาที่วิ่งตัวลอย เพราะน้ำหนักจะกระแทกลงที่ข้อเข่า ท้าให้กระดูกอ่อนผิวข้อเสียดสีกันรุนแรง ส่งผลให้ผิวกระดูกอ่อนเสียหาย สึกบางลงได้ 5.2 หลีกเลี่ยงกระโดดเชือก Free Running Parkour หรือเต้นแอโรบิคบางท่าที่มีการกระโดดหรือบิดงอ หัวเข่ามาก เพราะจะมีแรงกระทำต่อข้อเข่าสูงมากถึง 7-9 เท่าของน้ำหนักตัว 6. ถ้าผู้ป่วยโรคปวดเข่ามีน้ำหนักตัวมาก พยายามลดน้ำหนัก ในมุมมองของ ร.ต.ท.พิรุณ ศุภฤทธิธำรง หรือชื่อในวงการที่เรียกกันว่า CoachTen โค้ชผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการลดน้ำหนักมีความเห็นในเรื่องลดน้ำหนักดังนี้ "ให้เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และเพียงพอในแต่ละวัน และพลังงานต่ำ เช่น อาหารจำพวก ต้ม ตุ๋น นึ่ง จะทำให้ลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น" นอกจากนี้ CoachTen ยังกล่าวอีกว่าควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มต่างๆ เพราะจะทำให้ได้รับพลังงานโดยไม่จำเป็น ทำให้อ้วนง่ายขึ้น 7. บริหารกล้ามเนื้อเข่า 8. ใช้อุปกรณ์พยุงข้อ หรือสนับเข่า 9. ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินหากเดินได้ไม่สะดวก 10. ประคบความเย็น หรือความร้อน เพื่อลดความปวด อักเสบ บวม 11. อย่าซื้อยาชุด ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดเข่า ยาแก้ปวดเส้น มากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ยาเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าได้ดี แต่หากกินเป็นประจำนานๆอาจเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้ เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกผุ ภูมิคุ้มกันต่ำ ต่อมหมวกไตฝ่อ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ. วศิน กุลสมบูรณ์, ASTVผู้จัดการออนไลน์,นพ.วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท,CoachTen ใบประกอบกิจการ ปฏิคมแพทย์แผนไทย ได้รับ ใบอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ในลักษณะการแพทย์แผนไทย จากกระทรวงสาธารณะสุข
ซึ่งแสดงถึงการได้รับอนุญาติในการตั้งคลีนิค และทำการรักษา ได้ถูกต้องตามกฎหมาย
กรอกเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือโทร 094-102-3766 |