
![]() |
ยาสมุนไพร ประจำตระกูลหลี |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สำหรับ พนักงาน |
![]() |
![]() |
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะบ่อย
ขอบคุณรูปจาก Zorro4
ปัสสาวะบ่อย เป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลง แต่ก่อนจะตัดสินว่า ตนเองมีอาการปัสสาวะบ่อย ต้องมาเข้าใจระบบทางเดินปัสสาวะเสียก่อน
กระเพาะปัสสาวะ ขอบคุณรูปจาก OpenStax College
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องปกติของแต่ละบุคคล ซึ่งไตทำหน้าที่ในการกลั่นกรองของเสียขับออกจากร่างกายโดยผ่านขบวนการทำงานของระบบปัสสาวะ และมีกระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะทำหน้าที่ในการเก็บกักปัสสาวะ เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็มก็จะปวดปัสสาวะและต้องไปถ่ายปัสสาวะ ซึ่งโดยปกติกระเพาะปัสสาวะของผู้ใหญ่จะมีความจุประมาณ 400-500 ซีซี เมื่อพิจารณาถึงปริมาณน้ำปัสสาวะ ที่ผลิตในแต่ละวันแล้ว โดยปกติผู้ใหญ่ จะถ่ายปัสสาวะวันละ 3-5 ครั้ง ในเวลากลางวัน ซึ่งปัสสาวะบ่อยจะมากน้อยขึ้นกับนิสัยในการฝึกปัสสาวะ รวมทั้งปริมาณน้ำที่ดื่มไปแต่ละวัน กับน้ำที่เสียไปทางเหงื่อและทางอุจจาระ ถ้าเหงื่อออกมาก หรือท้องเสียถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ก็จะทำให้ปัสสาวะน้อยลงได้ การที่มีปัสสาวะบ่อยกว่าที่เคยเป็นอยู่ แต่ในเวลากลางคืนเป็นช่วงของการ นอนหลับ ไม่ได้ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่ม จึงทำให้ช่วงเวลากลางคืนจะมีระยะของ การถ่ายปัสสาวะห่างออกไป ประกอบ กับสมองกำลังอยู่ในช่วงการพัก จะต้องใช้การกระตุ้นจากกระเพาะปัสสาวะที่ เต็มส่งการเตือนขึ้นไปยังสมองที่รุนแรง จึงจะทำให้ตื่นมาถ่ายปัสสาวะ ทำให้โดยปกติจะต้องตื่นมาถ่ายปัสสาวะคืนละ 1 ครั้ง บางคนอาจจะไม่ต้องตื่นเลยหากถ่ายปัสสาวะก่อนนอนแล้ว แต่อย่างไรก็ดีในวัยสูงอายุอาจจะถ่ายปัสสาวะคืนละ 2 ครั้งได้โดยไม่ถือเป็น ความผิดปกติ ถ้ามีอาการตื่นมาปัสสาวะบ่อยในกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง ถือว่ามีอาการผิดปกติ
สาเหตุของอาการปัสสาวะบ่อย 1. ขนาดกระเพาะปัสสาวะเล็กกว่าปกติ โดยปกติแล้วกระเพาะปัสสาวะจะเก็บน้ำได้ราว ๆ 300-500 cc จึงจะรู้สึกปวดถ่าย ทว่าในบางคนอาจมีขนาดกระเพาะปัสสาวะที่เล็กกว่านั้น ซึ่งอาจกักเก็บน้ำได้น้อยกว่า 300 cc ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าคนอื่นได้ ขอบคุณรูปจาก PublicDomainPictures
2. ตั้งครรภ์ เป็นข่าวดีสำหรับหลายครอบครัว แต่การตั้งครรภ์ทำให้ฝ่ายคุณแม่ปัสสาวะบ่อย เพราะระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่เพิ่มขึ้น จะไปทำให้ไตขยายตัวขึ้นประมาณ 1.5 เซนติเมตร ส่งผลให้มดลูกและกระเพาะปัสสาวะขยายตัวออก เป็นสาเหตุทำให้เกิดความรู้สึกแน่นท้อง และทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกตินั่นเอง โดยเฉพาะอายุครรภ์ที่มากกว่า 6 เดือน มดลูกจะกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เก็บปัสสาวะได้ไม่มาก จึงทำให้ปัสสาวะบ่อย
3. ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะหรือมีนิ่วในไต การมีสิ่งที่ก่อความระคายเคืองหรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในปัสสาวะอาจทำให้รู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น โดยหากมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยร่วมกับรู้สึกเจ็บหลังหรือบริเวณสีข้างอาจเป็นเพราะนิ่วในไต ส่วนในกรณีที่รู้สึกปวดปัสสาวะมาก ๆ ปวดแบบแทบกลั้นไม่อยู่ แต่ปัสสาวะได้ครั้งละไม่มาก แบบนี้อาจส่อถึงอาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
ขอบคุณรูปจาก The Journal of the American Medical Association
4. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Cystitis เกิดจากอีโคไล(E. coli) เคล็บซิลลา สูโดโมแนส เอนเทอโรแบกเตอร์ปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ โดยเชื้อชนิดนี้จะเข้าไปทางท่อปัสสาวะ จึงมักพบผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น จึงมีโอกาสสูงที่เชื้อแบคทีเรียจำนวนมากจากทวารหนักจะเคลื่อนที่เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการฟักตัวและอักเสบได้ โดยสังเกตได้ง่าย ๆ สำหรับกรณีที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะมีอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปวดปัสสาวะบ่อย แต่รู้สึกปัสสาวะออกไม่สุด มักปวดขัด หรือแสบร้อนเวลาปัสสาวะ บางคนอาจปวดท้องน้อยเวลาปัสสาวะด้วย หากไม่รีบรับการรักษา จะทำให้การติดเชื้อนั้นสวนขึ้นไปจนถึงกรวยไต ทำให้กรวยไตอักเสบตามไปด้วย อาจจะทำให้เสียชีวิตได้
ขอบคุณรูปจาก Coffee Follow
5.โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน หรือ Over Active Bladder เรียกย่อๆ ว่า OAB เป็นภาวะที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป ทำให้ให้รู้สึกปวดฉี่บ่อยกว่าปกติ บางคนปวดปัสสาวะ 2-3 ครั้งต่อชั่วโมงเลยก็มี ผู้ป่วยบางรายถึงขั้นปัสสาวะวันละ 100 ครั้งต่อวัน ในปี พ.ศ. 2551 โรงพยาบาลศิริราชรายงานว่าคนไข้ที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คิดเป็นอัตราส่วน 4 : 3 คนต่อวัน รวมแล้วปีหนึ่งจะมีคนไข้ประมาณ 1,500 คน หากอยู่ในที่เย็น ๆ จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ปวดมากชนิดที่ต้องเข้าห้องน้ำอย่างเร่งด่วน บางครั้งอาจมีปัสสาวะเล็ด หรืออาจมีอาการเจ็บท้องน้อยร่วมด้วย อาการจะคล้าย ๆ กับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบธรรมดา แต่จะเป็นค่อนข้างเรื้อรังเป็นเวลานาน ก่อนหน้านี้เคยเข้าใจกันว่าภาวะปัสสาวะไวเกินมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ปัจจุบันพบว่าในผู้ชายก็เป็นโรคนี้มากขึ้น โดยมักพบร่วมกับภาวะต่อมลูกหมากโต และพบได้ในคนทุกวัย แต่ไม่ค่อยพบโรคนี้ในเด็ก ขอบคุณรูปจาก dertrick
6. ยาบางชนิด ยาชนิดน้ำหรือยาในกลุ่มขับปัสสาวะ รวมทั้งยาในกลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิก เช่น ยากลุ่มประสาทและยาคลายเครียด ยา อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย ๆ ได้ ดังนั้นหากรับประทานยาเหล่านี้อยู่ก็ไม่ต้องกังวลกับการปวดปัสสาวะและลุกมาเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ ขอบคุณรูปจาก TesaPhotography
7. โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำให้ไตทำงานหนักและอาจขับน้ำตาลส่วนเกินนั้นมาที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งก็ส่งผลให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ๆ ได้ หรือบางกรณีที่เป็นโรคเบาหวานและเกิดอาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย อาการปัสสาวะบ่อยมากก็อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อความสบายใจและง่ายต่อการวินิจฉัยโรคควรตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อตรวจสอบว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ขอบคุณรูปจาก István Mihály
8. ความเสื่อมของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุหรือวัยกลางคนที่ทำงานหนัก ๆ ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเสื่อมประสิทธิภาพ ทำงานไม่ได้ดีเหมือนเช่นเคย ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดรัดตัว และยังส่งผลให้ความยืดหยุ่นของกระเพาะปัสสาวะเสียไป จึงรู้สึกปวดถ่ายปัสสาวะบ่อย และมักจะมีอาการปัสสาวะเล็ดเมื่อไอ จาม หรือเคลื่อนไหวร่างกายมาก ๆ
ขอบคุณรูปจาก Jordi March i Nogué
9. ไตเสื่อม อาการปัสสาวะบ่อยอาจเกิดจากภาวะไตเสื่อมก็เป็นได้ เนื่องจากหากไตทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ดังเช่นเคย ระบบคัดกรองเสื่อมประสิทธิภาพลง น้ำในร่างกายอาจตกหล่นมาที่กระเพาะปัสสาวะมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย
ขอบคุณรูปจาก luizgwyer
10. โรคอ้วน น้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะเพิ่มแรงดันให้กระเพาะปัสสาวะมากขึ้นไปด้วย ในสาเหตุนี้การลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อยได้ ในมุมมองของ ร.ต.ท.พิรุณ ศุภฤทธิธำรง หรือชื่อในวงการที่เรียกกันว่า CoachTen โค้ชผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการลดน้ำหนักมีความเห็นในเรื่องลดน้ำหนักดังนี้ "ให้เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และเพียงพอในแต่ละวัน และพลังงานต่ำ เช่น อาหารจำพวก ต้ม ตุ๋น นึ่ง จะทำให้ลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น เพราะร่างกายต้องการสารอาหาร ไม่ใช่ปริมาณอาหาร" นอกจากนี้ CoachTen ยังกล่าวอีกว่าควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มต่างๆ เพราะจะทำให้ได้รับพลังงานโดยไม่จำเป็น ทำให้อ้วนง่ายขึ้น
11. ปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก พบบ่อยที่สุดคือโรคต่อมลูกหมากโต โดยต่อมลูกหมากนี้เป็นต่อมวอลนัทขนาดใหญ่ที่หลั่งน้ำอสุจิ (ของเหลวที่เก็บเซลล์สเปิร์ม) ต่อมนี้ถูกล้อมรอบด้วยท่อปัสสาวะ ซึ่งส่งปัสสาวะออกมาจากอวัยวะเพศชาย อวัยวะนี้พบในผู้ชายเท่านั้น ต่อมลูกหมากนี้อาจไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เนื้อที่แคบลง จุปัสสาวะได้ไม่มากเหมือนเดิม กระเพาะปัสสาวะเกิดการระคายเคืองจนต้องขับปัสสาวะออกมาถี่กว่าเดิม แต่ปริมาณปัสสาวะจะออกแบบกะปริบกะปรอย มีน้ำปัสสาวะไหลเองหลังจากปัสสาวะเสร็จแล้ว เกิดความรู้สึกว่าจะปัสสาวะไม่ออกปัสสาวะไหลได้เอง ปัสสาวะบ่อยหรือเกินความจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลากลางคืน เป็นต้น หากไม่รีบรักษา อาการจะเลวร้ายขึ้นไปเรื่อย ๆ และมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา
12. เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกจะเข้าไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดการบีบตัวบ่อยขึ้น รวมทั้งอาจมีอาการปัสสาวะติดขัด มีเลือดปนมากับปัสสาวะได้
13. โรคเบาจืด ทำให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนที่ควบคุมสมดุลสารน้ำในร่างกาย นำไปสู่การปัสสาวะบ่อย
ขอบคุณรูปจาก elos
14. รับประทานเครื่องดื่มหรืออาหารที่ทำให้ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนเย็น หรือก่อนนอน หากดื่มน้ำหรือเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์ จะต้องตื่นมาถ่ายปัสสาวะบ่อย ขอบคุณรูปจาก niekverlaan
สำหรับอาหารก็ได้แก่ · ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ · ผลิตภัณฑ์แคนเบอร์รี · อาหารรสจัด เช่น พริก พริกไทย วาซาบิ ขอบคุณรูปจาก cegoh
· สารให้ความหวาน ทั้งน้ำตาลและสารที่ให้ความหวานทุกชนิด · หัวหอม ขอบคุณรูปจาก WerbeFabrik
· กล้วย องุ่น แอปเปิล · เนยแข็งชนิด Age cheese และ ซาวครีม · ลูกพรุน ขอบคุณรูปจาก ClkerFreeVectorImages
· อาหารสำเร็จรูป ขอบคุณรูปจาก geralt
15. โรคทางหัวใจ เมื่อการทำงานของหัวใจบกพร่อง เนื่องจากในช่วงกลางวัน เลือดและน้ำจะคั่งอยู่บริเวณขา น่อง เมื่อนอนน้ำและเลือดจะไหลกลับมากกว่าช่วงกลางวัน ทำให้ผลิตปัสสาวะมาก ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืนได้
16. สตรีวัยหมดประจำเดือน เยื่อบุบริเวณช่องคลอดและท่อปัสสาวะบาง ลง ไวต่อการกระตุ้น ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยได้
17. โรคทางสมอง ระบบประสาทที่ส่ง ผลต่อการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ก้อนเนื้องอก หรือโรคของหลอดเลือดสมอง หรือเส้นประสาทที่มาควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้ ทำให้ปัสสาวะบ่อย
18. ความผิดปรกติทางจิตใจ เช่น ภาวะเครียดจากงาน กลัวโรคภัยไข้เจ็บ มีปัญหาครอบครัว ผู้ป่วยส่วนมากมักจะปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวันหรือหัวค่ำ เมื่อหลับแล้วจะไม่ตื่นมาปัสสาวะอีก เนื่องจากไม่มีความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ
อาการของอาการปัสสาวะบ่อย อาการปัสสาวะบ่อยมักพบร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะมาก เป็นต้น ขึ้นกับสาเหตุของอาการปัสสาวะบ่อย
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจจะเกิดเมื่อไอ หรือจาม เมื่อมีการเปลี่ยนอิริยาบท เมื่อกลั้นไม่อยู่ หรือมีปัสสาวะซึมโดยไม่รู้สึกตัว ถ้ามีอาการไข้ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะไม่สุด สีของปัสสาวะขุ่น ร่วมกับอาการปัสสาวะบ่อย อาจจะเกิดจากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในบางรายเมื่ออยู่ในที่มีอากาศเย็น ทำให้ปวดปัสสาวะ บางคนไข้บางรายเป็นมากต้องปัสสาวะบ่อยถึง 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง บางรายตื่นขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึก
ผลกระทบของอาการปัสสาวะบ่อย แม้ว่าอาการปัสสาวะบ่อยไม่ได้เป็นอาการที่อันตรายถึงชีวิต แต่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง บั่นทอนคุณภาพชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพ การใช้ชีวิตประจำวัน ปัญหาต่อสรีระร่างกาย รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ และสุดท้ายยังส่งผลทำให้เป็นปมด้อยต่อสภาพจิตใจ
ขอบคุณรูปจาก Ben_Kerckx
บางรายต้องเปลี่ยนอาชีพการงาน พฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้อยู่ร่วมกับอาการปัสสาวะบ่อยไปด้วยกันได้ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ ต้องอดทนกับการพาผู้สูงวัยไปห้องน้ำบ่อยๆ ผู้ป่วยบางรายมีความวิตกกังวลในการเดินทาง ทำให้ไม่กล้าเดินทางไปยังที่ไกล ๆ จิตใจมัวกังวลเรื่องห้องน้ำอยู่เสมอ
หากมีอาการปวดปัสสาวะกลางดึก ทำให้ต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน ทำให้ขาดการพักผ่อน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานตอนกลางวันลดลง สมองไม่ปลอดโปร่ง อาจจะประสบอุบัติเหตุในการเดินทางตอนเช้า หรือในวัยสูงอายุมากๆ ที่มีกระดูกเปราะบาง เคยมีรายงานการหกล้มขณะเดินไปห้องน้ำจนกระดูกสะโพกหัก
ขอบคุณรูปจาก Tumisu
นอกจากจะมีผลกระทบแก่ตัวผู้ป่วยเองแล้ว อาการปัสสาวะบ่อยยังกระทบต่อครอบครัวด้วย โดยเฉพาะสามีภรรยาที่นอนห้องเดียวกัน หากตื่นจะเกิดเสียงหรือแสงไฟ ขณะที่ผู้ป่วยไปปัสสาวะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลปิยะเวท,โรงพยาบาลศิริราช, WebMD's, kapook, Great Soulmate, ศาสตราจารย์นายแพทย์ วชิร คชการ,CoachTen
ใบประกอบกิจการ และดำเนินการ ปฏิคมแพทย์แผนไทย ได้รับ ใบอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ในลักษณะการแพทย์แผนไทย จากกระทรวงสาธารณะสุข
ซึ่งแสดงถึงการได้รับอนุญาติในการตั้งคลีนิค และทำการรักษา ได้ถูกต้องตามกฎหมาย
กรอกเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือโทร 094-102-3766
|