
![]() |
ยาสมุนไพร ประจำตระกูลหลี |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สำหรับ พนักงาน |
![]() |
![]() |
ริดสีดวงทวารกับไฟเบอร์ ริดสีดวงทวารกับไฟเบอร์ โรคริดสีดวงทวาร คือ โรคที่เกิดจากหลอดเลือดดำที่ไส้ตรงโป่งพองหรือขอด และมีหลอดเลือดบางส่วนยื่นออกจากทวารหนัก และมีเลือดออกเมื่ออุจจาระ ผู้ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการเจ็บๆคันๆที่ปากทวารหนักในระยะแรกและจะเพิ่มเป็นอาการเจ็บปวดในระยะหลัง เมื่อมีขับถ่าย อุจจาระจะไปเสียดสีกับหลอดเลือดดำที่โป่งออกมา ทำให้เจ็บปวดทุกครั้งที่มีการเคลื่อนตัวของมวลอุจจาระ ทำให้ไม่อยากอุจจาระ แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
แค่อ่านก็ท่านผู้อ่านก็รู้สึกได้ว่า ริดสีดวงเป็นอีกโรคหนึ่งที่ไม่น่าเป็นอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่หลายท่านที่เป็นโรคริดสีดวงก็ไม่กล้าพบแพทย์ ยิ่งทำให้โรคริดสีดวงลุกลามมาขึ้นไปอีก สุดท้ายก็ต้องผ่าตัด ซึ่งก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้ หากยังมีนิสัยการใช้ชีวิตเช่นเดิม
ขอบคุณรูปจาก romanov
แพทย์หลายท่านและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยหาอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ เพื่อป้องกันการเกิดริดสีดวงทวาร ในสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงแล้วนั้น การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลดแรงเสียดสีระหว่างอุจจาระกับริดสีดวง ทำให้ลดความเจ็บปวดขณะขับถ่ายอุจจาระ
ไฟเบอร์คืออะไร ขอบคุณรูปจาก Meditations
ไฟเบอร์(Fiber) หรือภาษาไทยจะเรียกว่าใยอาหาร ไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารประเภทพืชผักและผลไม้ที่เราทานเข้าไป โดยไฟเบอร์เกือบทุกชนิดถูกจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง(Non-Starch Carbohydrates) ไฟเบอร์นี้เอ็นไซม์ในทางเดินอาหารของมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ แต่ไฟเบอร์จะไปช่วยเพิ่มปริมาณของเสียเมื่อรวมกับอาหารอื่น ที่ถูกย่อยและดูดซึมแล้ว ทำให้สามารถเคลื่อนตัวไปตามลำไส้ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยอุ้มน้ำ ซึ่งน้ำเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อาหารที่ผ่านการย่อยและดูดซึมแล้ว (ขณะนี้คือของเสีย) อ่อนนุ่มขึ้น จึงง่ายต่อการจำกัดออกจากร่างกาย ทำให้ช่วยลดความเจ็บปวดเมื่ออุจจาระไหลผ่านริดสีดวง ไฟเบอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ ขอบคุณรูปข้าวสาลีจาก Hans,ข้าวโอ๊ตจาก dessuil,ถั่วเหลืองจาก bykst,แอปเปิ้ลจาก avantrend
1. ไฟเบอร์ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ (Insoluble Fiber) ไฟเบอร์กลุ่มนี้ไม่ละลายน้ำแต่จะดึงน้ำไว้ได้ ทำให้เกิดการพองตัวในน้ำลักษณะคล้ายๆฟองน้ำ ทำให้เพิ่มปริมาตรของกระเพาะอาหาร ผู้ที่รับประทานไฟเบอร์กลุ่มนี้จึงรู้สึกอิ่ม อีกทั้งช่วยเร่งให้อาหารผ่านไปตามทางเดินอาหารได้เร็วขึ้น และช่วยเพิ่มมวลของอุจจาระ ทำให้ช่วงเวลาที่กากอาหารค้างอยู่ในทางเดินอาหารสั้นลงหรือขับถ่ายเร็วขึ้น เกิดความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระลดปัญหาท้องผูกได้ เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินที่พบบนผนังเซลล์ของพืช ไฟเบอร์ประเภทนี้พบได้มากในรำข้าว รวมทั้งในผักและผลไม้ แหล่งพืชผักผลไม้ที่ให้ไฟเบอร์ ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ อ้อย ข้าวโอ๊ต ผงอะเซโรลา เชอร์รี ข้าวสาลี ถั่วเหลือง เลมอน กระบองเพชร รำข้าวบาร์เลย์ ไฟเบอร์จากถั่วลันเตา แอปเปิ้ล แครอท
ขอบคุณรูปจาก jill111
2. ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ (Soluble Fiber) ไฟเบอร์กลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ และสามารถดูดซับสารที่ละลายในน้ำไว้กับตัว เช่น เพคติน (Pectin) กัม (Gums) มิวซิเลจ (Mucilage) พบมากในพืชจำพวกถั่ว รำข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ เป็นสารที่ละลายในน้ำที่ร่างกายย่อยไม่ได้ พบได้ภายในเซลล์พืช มีส่วนทำให้อาหารผ่านไปในทางเดินอาหารช้าลงโดยไม่ช่วยเพิ่มมวลของอุจจาระ ไฟเบอร์กลุ่มนี้หลายตัวยังช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล และลดการดูดซึมเกลือน้ำดี นอกจากนี้ไฟเบอร์กลุ่มนี้ บางตัวยังถูกย่อยด้วยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ได้ เกิดเป็นปฏิกิริยาที่เรียกว่าการหมัก จึงอาจเรียกว่า “ไฟเบอร์ที่ถูกหมักได้” หรือ Fermentable Fiber ปัจจุบันนิยมเรียกไฟเบอร์กลุ่มนี้ว่าพรีไบโอติก (Prebiotics) เนื่องจากช่วยส่งเสริมให้แบคทีเรียกลุ่มไมโครฟลอร่าหรือโปรไบโอติก (Probiotics) เจริญเติบโตได้ดีตัวอย่างไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้แก่ อะเคเซีย กัม การได้รับไฟเบอร์ทั้งสองกลุ่มจะดีมากกว่าเลือกรับประทานกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงอย่างเดียว ทำให้อาหารเกิดความสมดุล มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า และให้ดีมากขึ้นควรได้รับไฟเบอร์จากหลายแหล่ง สมาคมนักกำหนดอาหารของสหรัฐอเมริกา (The American Dietetic Association หรือ ADA) แนะนำว่าร่างกายควรได้รับไฟเบอร์ประมาณวันละ 20 – 35 กรัม ซึ่งปัจจุบันนี้คนอเมริกันส่วนใหญ่ได้รับไฟเบอร์โดยเฉลี่ยเพียง 14 กรัมต่อวัน ในขณะที่คนไทยได้รับ 15 กรัมต่อวัน การได้รับประทานไฟเบอร์ที่เพียงพอทำให้ห่างไกลปัญหาโรคและความผิดปกติในทางเดินอาหาร รวมทั้งริดสีดวงได้
ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ขายในท้องตลาดมากกว่า 400 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งถ้าเราจะหาแหล่งไฟเบอร์จากแหล่งอาหารธรรมชาติ จะแบ่งได้ดังนี้ ขอบคุณรูปจาก condesign
1. ผัก ได้แก่ แครอต ข้าวโพด ผิวมันฝรั่ง บร็อกโคลี่ ผิวมะเขือเทศ และผักโขม
2. ผลไม้ ได้แก่ กีวี มะละกอ กล้วย ส้ม แอปเปิ้ล อะโวคาโด ฝรั่ง มะม่วง รวมทั้งเบอร์รี่บางชนิด เช่น ราสเบอร์รี่ สตอเบอรี่ และแบล็กเบอร์รี่ ขอบคุณรูปจาก wanying008
3. ถั่ว ได้แก่ อัลมอนด์ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน เฮเซลนัต พิสตาชโอ เมล็ดฟักทอง เป็นต้น
ขอบคุณรูปจาก FotoshopTofs
4. ธัญพืช ได้แก่ ข้าวกล้อง พาสต้า ข้าวโอ๊ต มักกะโรนี โฮลวีต คอร์นเฟล็ก ขนมปังขาว
สำหรับอาหารที่มีไฟเบอร์สูง จะมีดังนี้ ขอบคุณรูปจาก PublicDomainPictures
1. ข้าวกล้อง ในข้าวกล้องมีไฟเบอร์สูงมากกว่าข้าวขาว 3-7 เท่า การกินข้าวกล้องจะได้ไฟเบอร์ไปพร้อมๆกับสารอาหารบำรุงร่างกายสารพัดชนิด ไฟเบอร์นี้จะช่วยซับเอาน้ำมันและน้ำตาลที่กินเข้าไปล้นเกิน ทิ้งเป็นกากอุจจาระ เมื่อมีกากอุจจาระมากขึ้น ก็ทำให้การขับถ่ายดีขึ้นช่วย ลดอาการท้องผูกและริดสีดวงได้
2. คะน้า ยอดคะน้าสด อุดมไปด้วยวิตามินซี ไฟเบอร์ และเกลือแร่จำนวนมาก โดย เฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซี ซึ่งช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ให้ชุ่มชื้น อย่างไรก็ดี ควรเลือกคะน้าที่ปลอดยาฆ่าแมลง เนื่องจากคะน้าเป็นผักที่อุดมไปด้วยยาฆ่าแมลงตกค้างติดอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว
3. ถั่วชนิดต่างๆ มีไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูง ถั่วอบครึ่งถ้วยจะให้ไฟเบอร์ 11 กรัม 4. อโวคาโด อุดมสมบูรณ์ไปด้วยวิตามินต่างๆมากมาย ทั้งวิตามินเอ ดี และอี แร่ธาตุต่างๆ รวมทั้งไฟเบอร์ ขอบคุณรูปจาก PublicDomainPictures
5. เบอร์รี่ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสตรอว์เบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, มัลเบอร์รี่ และเชอร์รี่ เบอร์รี่เหล่านี้จะอุดมไปด้วยวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยให้เซลล์ในร่างกายสามารถซ่อมแซมตัวเองจากโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ทั้งการรักษาบาดแผล รวมทั้งไฟเบอร์ ขอบคุณรูปจาก Meditations
6. บร็อคโคลี่ นอกจากมีวิตามินซีสูงและซัลโฟราเฟนช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง บำรุงสุขสุขภาพดวงตาแล้วนั้น ยังมีไฟเบอร์สูงด้วย บร็อคโคลี่ครึ่งถ้วย มีไฟเบอร์สูงถึง 3.2 กรัม
7. ข้าวโอ๊ต จัดว่าเป็นอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาก ซึ่งอุดมไปด้วยไฟเบอร์ การทานข้าวโอ๊ตปราศจากน้ำตาลคู่กับโยเกิร์ตและผลไม้ในตอนเช้า ถือว่าเป็นยอดอาหารรสเลิศที่ให้ประโยชน์เป็นอย่างดี
ขอบคุณรูปจาก ponce_photography
8. ผักโขม เป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่มีไฟเบอร์ ซึ่งคุณอาจจะกินผักขมคู่กับเส้นพาสต้าก็ได้ หากยังชอบอาหารมัน ๆ ผักโขมอบชีสก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลยทีเดียว ผักโขมครึ่งถ้วย ให้ไฟเบอร์ 5.7 กรัมเลยทีเดียว
9. แอปเปิ้ล ถือเป็นแหล่งไฟเบอร์หนึ่งที่หาได้โดยง่ายและน้ำตาลน้อย แอปเปิ้ลหนึ่งผล จะให้ไฟเบอร์ 3.3 กรัม
ขอบคุณข้อมูลจาก หน่วยสารสนเทศมะแร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์, AVENEUE, LOVEFITT, frynn ,kapook, AMWAY
จะเห็นได้ว่าการหารับประทานไฟเบอร์ให้ได้ทุกวันนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย ถ้ามีอาการเจ็บปากทวารหนัก มีติ่งริดสีดวงเสียแล้ว การรับประทานไฟเบอร์อาจจะไม่ทันการ ให้กรอกข้อมูลเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือโทร 094-102-3766 หรือติดต่อผ่าน ใบประกอบกิจการ ปฏิคมแพทย์แผนไทย ได้รับ ใบอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ในลักษณะการแพทย์แผนไทย จากกระทรวงสาธารณะสุข
ซึ่งแสดงถึงการได้รับอนุญาติในการตั้งคลีนิค และทำการรักษา ได้ถูกต้องตามกฎหมาย
|