
![]() |
ยาสมุนไพร ประจำตระกูลหลี |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สำหรับ พนักงาน |
![]() |
![]() |
เตือนภัยหญิงปวดท้องน้อยเรื้อรัง เตือนภัยหญิงปวดท้องน้อยเรื้อรัง
เมื่อพูดถึงอาการปวด ไม่ว่าจะปวดอวัยวะใดคงไม่มีใครอยากประสบอย่างแน่นอน อาการปวดท้องน้อย เรื้อรังเป็นปัญหาที่หลายคนเข็ดขยาด เนื่องจากผู้ป่วยมักต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน อีกทั้งยังเป็นโรครักษายาก ทําให้แพทย์ผู้รักษาปวดศีรษะไปด้วย
ขอบคุณรูปจาก PublicDomainPictures อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะโครงสร้างทางร่างกายเอื้อต่อการเกิดความผิดปกติที่ทําให้เกิดอาการปวด และมีอวัยวะกับระบบการทํางานของร่างกายที่เอื้อให้เกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังได้ โดยทั่วไปการปวดท้องน้อยเรื้อรังเป็นอาการปวดบริเวณเชิงกราน ท้องน้อยหรือ บริเวณใกล้เคียงเป็นระเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยจํานวนมากไม่สามารถประกอบภารกิจได้ตามปกติจากอาการปวด หลายคนต้องลาออกจากงาน เพราะเมื่อมีอาการปวดไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป ทําให้คนป่วยบางรายมีความผิดปกติทางจิตติดตามมา เช่นมีอาการซึมเศร้าหรืออารมณ์แปรปรวน
ขอบคุณรูปจาก Peggy_Marco อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง มีลักษณะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ คือ พยาธิสภาพ ของอวัยวะที่ทําให้เกิดอาการปวด เช่น หากเป็นอวัยวะระบบสืบพันธุ์สตรี เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจมีอาการปวดมากหรือ น้อยตามวงรอบของฮอร์โมนเหมือนการปวดประจําเดือน แต่จะปวดรุนแรงกว่า
ขอบคุณรูปจาก The Journal of the American Medical Association หากอาการปวดเกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับการถ่ายปัสสาวะหรืออั้นปัสสาวะ ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อย และปวดมาก ในบางรายถ่ายปัสสาวะวันละ 40-50 ครั้ง หากอาการปวดจากลําไส้ก็อาจมีความผิดปกติในการขับถ่ายอุจจาระ หรือหากปวดจากกล้ามเนื้อก็อาจปวดตามแนวกล้ามเนื้อนั้นๆ จะเห็นได้ว่าอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากหลายสาเหตุ อาการที่พบบ่อย คือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบรุนแรง ซึ่งการอักเสบนี้ ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเหมือนการอักเสบทั่วไป แต่เกิดจากการที่น้ําปัสสาวะซึมผ่านสู่ชั้นกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ โดยปกติกระเพาะปัสสาวะจะมีเยื่อบางๆ หุ้มอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะซึมสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ เพราะเกลือแร่ต่างๆ ในปัสสาวะจะก่อให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงมาก ทําให้เกิดอาการปวด อาการปวดจากสาเหตุนี้มักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยร่วมด้วย โดยจะปวดมากเมื่ออั้นปัสสาวะ และทุเลาลงมื่อถ่ายปัสสาวะเสร็จ
ขอบคุณรูปจาก นพ.รัฐธร พนัสสรณ์ และ พญ.สิรีธร สุขุมวาท อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นอีก เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมีเยื่อบุโพรงมดลูกมาเกาะนอกมดลูกบริเวณเชิงกราน ทําให้มีอาการปวด เพราะมีการคั่งของเยื่อบุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวงรอบของฮอร์โมน นอกจากนี้ อาการปวดยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น การอักเสบของลําไส้ใหญ่ กล้ามเนื้อเชิงกราน อักเสบ ข้อต่อต่างๆ บริเวณเชิงกรานอักเสบ หรือแม้แต่ก้อนนิ่วบริเวณท่อไตส่วนล่างก็ทําให้มีอาการปวดร้าวลงมา ที่เชิงกรานและท้องน้อยได้ วิธีการวินิจฉัยภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มมีอาการและผล จากการรักษาก่อนหน้า เพราะอาจมีผลข้างเคียงหรือเกี่ยวข้องกับอาการในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยให้แพทย์วินิจฉัยง่ายขึ้นและช่วยให้รักษาอาการได้จริง ผู้ป่วยจึงควรให้ความสําคัญกับคําถามของแพทย์ซึ่งผู้ป่วย ควรจะทบทวนและลําดับเหตุการณ์ให้ดีก่อน อาทิ อาการปวดเริ่มจากบริเวณใด ร้าวไปทางไหน มีกิจกรรม หรือเหตุการณ์อะไรทําให้ปวดมาก อาการปวดเกี่ยวข้องกับรอบเดือนหรือไม่ การเดินการก้าวขาทําให้ปวดมากขึ้นหรือไม่ ที่ผ่านมามีอะไรช่วยบรรเทาปวดบ้างหรือไม่ รับประทานอาหาร อะไรแล้วทําให้ปวดมากขึ้น
ขอบคุณรูปจาก Unsplash แพทย์จะทําการตรวจร่างกายโดยละเอียด โดยตรวจทางทวารหนักเพื่อสํารวจหาจุดปวด ตรวจเอกซเรย์อัลตราซาวด์ ตรวจปัสสาวะและส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ หลังจากนั้นจะรวบรวมผลต่างๆ แล้ววินิจฉัย เพื่อให้การรักษาให้ถูกจุด เช่น หากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ก็จะให้การรักษาทางฮอร์โมน หากพบว่ากระเพาะปัสสาวะมีการอักเสบรุนแรงก็จะให้ยาระงับอาการปวดร่วมกับการใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
ขอบคุณรูปจาก markusspiske สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถช่วยแพทย์ได้ คือต้องสังเกตว่ามีเหตุใดกระตุ้นให้มีอาการปวดรุนแรง โดยเฉพาะกรณีที่ปวดจากความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงอาหารหลายชนิดที่ทําให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดสูง เช่น เนย สารปรุงรส อาหารรสจัด สุดท้าย อย่าเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาเร็วเกินไป เพราะหลายโรคไม่สามารถ รักษาหายในเร็ววัน โรคบางชนิดอาจจะไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แต่สามารถแก้ปัญหาจนอาการปวดลุล่วงได้ และในบางรายอาจต้องใช้การผ่าตัด ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังและยังไม่ได้พบแพทย์เฉพาะด้าน จึงควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาที่ถูกต้องอย่าทนจนเกิดอาการแทรกซ้อนที่ยากต่อการรักษา ขอขอบคุณ ไทยรัฐ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ ใบประกอบกิจการ ปฏิคมแพทย์แผนไทย ได้รับ ใบอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ในลักษณะการแพทย์แผนไทย จากกระทรวงสาธารณะสุข
ซึ่งแสดงถึงการได้รับอนุญาติในการตั้งคลีนิค และทำการรักษา ได้ถูกต้องตามกฎหมาย
ถ้าต้องการรักษาอาการปวดท้องน้อยด้วยสมุนไพร ปรึกษาคุณหมอปฏิคม กรอกเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือโทร 094-102-3766 หรือติดต่อผ่าน |