
![]() |
ยาสมุนไพร ประจำตระกูลหลี |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สำหรับ พนักงาน |
![]() |
![]() |
โรคไต โรคไต
ขอบคุณรูปจาก OpenClipartVectors ไตเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ขจัดของเสียออกจากร่างกาย ถ้าไตไม่ทำงานสัญญาณชีวิตก็ใกล้จบสิ้น ปกติไตทั้งสองข้างมีการทำงานเท่าๆกัน กรณีที่ไตข้างใดข้างหนึ่งเกิดความผิดปกติขึ้นมา ไตที่เหลืออีกข้างหนึ่งสามารถ ทำงานแทนได้ แต่ถ้าความผิดปกติเกิดขึ้นกับไตทั้งสองข้างพร้อมกัน จนไตทำงานได้ไม่เต็มตามความต้องการของร่างกาย ก็จะเกิดอันตรายกับร่างกายและชีวิตได้
หน้าที่ของไต
ขอขอบคุณรูปจาก Markhamilton 1. กำจัดของเสียออกจากร่างกายโดยขับออกมากับปัสสาวะ 2. ดูดซึมและเก็บสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 3. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
อาการที่อาจจะเป็นโรคไต 1. ผู้ที่เป็นโรคไตจะมีอาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาหรือใบหน้าตอนเช้า เท้าบวมทั้งสองข้าง เมื่อกดที่หน้าแข้งทั้ง สองข้างจะบุ๋มลงไป ถ้าโรคไตมีอาการหนักมาก จะบวมทั้งตัว อย่างไรก็ตามอาการบวมอาจไม่ได้เกิดจากโรคไตแต่อาจจะเกิดจากโรคอื่น เช่น โรคตับ โรคหัวใจ และอื่นๆ ซึ่งจะต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันความแน่นอน 2. ผู้ที่เป็นโรคไตจะปัสสาวะเป็นเลือด ปกติคนที่ไม่เป็นโรคไต น้ำปัสสาวะจะไม่มีเม็ดเลือดออกมา หรือถ้ามีก็น้อยมากต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ขยายปานกลางจึงจะเห็นและพบในปริมาณที่น้อยมากๆ 3. ผู้ที่เป็นโรคไตจะมีปัสสาวะขุ่น อาการปัสสาวะขุ่นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น มีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากซึ่งแสดงถึงภาวะการอักเสบ มีเชื้อแบคทีเรียแสดงถึงภาวการณ์ติดเชื้อเกิดขึ้น เกิดตะกอนนิ่วในผู้ป่วยโรคนิ่ว หรือเกิดจากพวกผลึกคริสตัลต่างๆ หากต้องการทราบว่าเป็นอาการของไตอักเสบเรื้อรังหรือไม่ต้องตรวจปัสสาวะด้วยกล้องจุลทรรศน์ 4. ผู้ที่เป็นโรคไตจะมีปัสสาวะเป็นฟองมาก ปกติเวลาปัสสาวะอาจจะมีฟองขาวๆบ้าง แต่ถ้าในปัสสาวะมีไข่ขาว( Albumin ) หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะเป็นฟองขาวๆได้มากเหมือนฟองสบู่ 5. ผู้ที่เป็นโรคไตจะปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน หากในช่วงเวลาหลับต้องตื่นมาปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้ง ส่วนใหญ่เกิดจากความเครียด กังวล นอนไม่หลับ หรือเป็นโรคเบาหวาน ส่วนน้อยมีสาเหตุมาจากโรคไต เช่น ไตวายเรื้อรัง
ขอบคุณรูปจาก Peggy_Marco 6. ผู้ที่เป็นโรคไตจะมีอาการปวดหลัง โดยปวดบริเวณเอวข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปที่หัวเหน่า ในกรณีที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือกรวยไตอักเสบอาจมีไข้ หนาวสั่นร่วมด้วย แต่อาการปวดหลังส่วนใหญ่มาจากโรคทางกระดูกสันหลัง หรือกล้ามเนื้อบริเวณหลังอักเสบ 7. ผู้ที่เป็นโรคไตจะมีความดันโลหิตสูง โรคไตเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงที่พบบ่อยในกลุ่มที่ทำให้ความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุมาจากโรคอื่น เมื่อพบว่ามีความดันโลหิตสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการตรวจเพื่อหาสาเหตุมาจากปัจจัยใด เพราะโรคไตเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้นที่ทำให้ความดันโลหิตสูง 8. ผู้ที่เป็นโรคไตจะตัวซีดและอ่อนเพลีย เมื่อเกิดโรคไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างสารชนิดหนึ่งเพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง จึงทำให้ผู้ป่วยโรคไตตัวซีดหรือโลหิตจางมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ 9. ผู้ที่เป็นโรคไตจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรงแล้ว
โรคต้นกำเนิดโรคไต โดยทั่วไปมีหลายโรคที่ทำให้เกิดโรคไต แต่ที่สำคัญมี 4 โรค คือ ขอบคุณรูปจาก TesaPhotography 1. เบาหวาน โรคไตเริ่มต้นจากโรคเบาหวาน หลังจากเป็นโรคเบาหวานนาน 10-15 ปี ทำให้เกิดรอยโรคสำคัญในส่วนของหลอดเลือดฝอยไต จนมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ ผู้ป่วยมักมีอาการบวม และโรคไตจากเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ขอบคุณรูปจาก stevepb 2. ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงอาจเป็นได้ทั้งสาเหตุของโรคไตหรืออาการแสดงของโรคไตก็ได้ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงนานๆโดยไม่รักษา จะทำให้ผนังหลอดเลือดในไตมีผนังหนาขึ้นและไตมีภาวะขาดเลือดเรื้อรัง ทำให้แรงดันภายในหลอดเลือดฝอยไตเพิ่มขึ้น มีการรั่วของโปรตีนออกมากับปัสสาวะและเป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายรองจากเบาหวาน ขอบคุณรูปจาก geralt 3. โรคหัวใจ โรคหัวใจและโรคไตวายเกี่ยวพันกัน เพราะนอกจากจะทำให้ไตขับสารพิษออกจากร่างกายไม่ได้แล้ว ยังขับน้ำออกจากร่างกายได้น้อยลงด้วย ซึ่งแพทย์ต้องควบคุมน้ำที่กินเข้าไปและปัสสาวะออกมาให้มีปริมาณเท่าๆกัน ไม่เช่นนั้นจะหัวใจวายได้เนื่องจากปริมาณน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น หัวใจต้องบีบตัวเร็วและแรงมากขึ้น โรคนี้เรียกว่า โรคหัวใจวายเนื่องจากมีน้ำคั่งมากในเลือด นอกจากนี้ โรคไตยังมีผลต่อปอดด้วย เพราะเมื่อมีน้ำท่วมหัวใจจนไม่สามารถปั๊มเลือดออกไปได้ ถึงจุดหนึ่งน้ำก็ท่วมปอด ทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น ขอบคุณรูปจาก cnick 4. โรคเกาต์ ความผิดปกติในการสร้างหรือขับกรดยูริคทำให้มีระดับกรดยูริคในเลือดสูง แล้วไปตกตะกอนเป็นผลึกตามไขข้อจนเกิดการอักเสบและปวดข้อ มักเป็นที่ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า และข้อต่างๆ กรดยูริคนี้สามารถตกตะกอนในเนื้อไตได้ด้วย ทำให้เกิดโรคเนื้อเยื่อไตอักเสบเรื้อรังหรือเกิดนิ่วกรดยูริคในเนื้อไต ซึ่งจะกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรังได้ทั้งยังอาจเกิดนิ่วในท่อไต ทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินปัสสาวะได้
ใครบ้างที่เสี่ยงจะเป็นโรคไต 1. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป 2. ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไต 3. ผู้ที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ น้อยกว่า 2,500 กรัม 4. ผู้ป่วยโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ 5. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 6. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 7. ผู้ที่ได้รับสารพิษจากยาบางชนิด หรือสารแปลกปลอมอยู่เป็นประจำ หรือมากเกิน 8. ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในไต 9. ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เซลล์ตัวเอง 10. ผู้ป่วยโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
อย่างไรก็ดีโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็น 2 โรคสำคัญนำไปสู่การเกิดโรคไตเรื้อรังได้บ่อยที่สุด ใบประกอบกิจการ ปฏิคมแพทย์แผนไทย ได้รับ ใบอนุญาติให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ในลักษณะการแพทย์แผนไทย จากกระทรวงสาธารณะสุข
ซึ่งแสดงถึงการได้รับอนุญาติในการตั้งคลีนิค และทำการรักษา ได้ถูกต้องตามกฎหมาย
กรอกเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือโทร 094-102-3766 หรือติดต่อผ่าน |